พระราชบัญญัติ
ล้มละลาย (ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
|
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๓/๒ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาตรา ๙๐/๙๑ ถึงมาตรา ๙๐/๑๒๘ แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
“หมวด ๓/๒
กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
_______________________
|
ส่วนที่ ๑
บทนิยาม
_________________
|
มาตรา ๙๐/๙๑ ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “เจ้าหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ “คําร้องขอ” หมายความว่า คําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน “ผู้ร้องขอ” หมายความว่า ผู้ยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน “แผน” หมายความว่า แผนฟื้นฟูกิจการ “ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งเป็นลูกหนี้ และหมายความรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในคณะบุคคลผู้เป็นลูกหนี้ด้วย “ผู้บริหารแผน” หมายความว่า ผู้จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามแผน “ผู้บริหารของลูกหนี้” หมายความว่า หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจ ดําเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน
ส่วนที่ ๒
การขอให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน
___________________
|
มาตรา ๙๐/๙๒ เมื่อลูกหนี้ไม่อยู่ในสถานะที่จะชําระหนี้ได้ และเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินกิจการ ซึ่งเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน โดยลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีจํานวนหนี้แน่นอน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท ลูกหนี้ที่เป็นคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ต้องมีจํานวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า สามล้านบาท และลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจํากัดต้องมีจํานวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามล้านบาทแต่ไม่ถึงสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ บุคคลตามมาตรา ๙๐/๙๓ อาจยื่นคําร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบ ด้วยแผนได้
ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ไม่อยู่ในสถานะที่จะชําระหนี้ได้
(๑) ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน (๒) ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ภายในกําหนด และเมื่อได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชําระหนี้แล้วยังไม่ชําระหนี้ภายในเวลาสามสิบวัน (๓) ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงบังคับคดีได้ตามคําพิพากษา หรือเจ้าหนี้ร้องขอบังคับคดีแก่ลูกหนี้แล้ว ไม่มีทรัพย์สิน
พอชําระหนี้ (๔) ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง และมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ผิดนัด หรืออาจจะผิดนัดชําระหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ (๕) ลูกหนี้มีกระแสเงินสดไม่พอชําระหนี้ มาตรา ๙๐/๙๓ บุคคลซึ่งมีสิทธิยื่นคําร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เจ้าหนี้ในหนี้ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินกิจการซึ่งอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนรวมกัน และ มีจํานวนหนี้แน่นอนตามมาตรา๙๐/๙๒วรรคหนึ่ง (๒) ลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะตามมาตรา๙๐/๙๒วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๐/๙๔ บุคคลตามมาตรา ๙๐/๙๓ จะยื่นคําร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนของลูกหนี้ไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด (๒) ศาลหรือนายทะเบียนได้มีคําสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องเลิกกันด้วยเหตุอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าการชําระบัญชี ของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่ (๓) ศาลได้เคยมีคําสั่งยกคําร้องขอ ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน หรือยกเลิก การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามความในหมวดนี้ ภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนยื่นคําร้องขอ มาตรา ๙๐/๙๕ คําร้องขอของบุคคลตามมาตรา ๙๐/๙๓ เพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และเห็นชอบด้วยแผน จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง (๑) การที่ลูกหนี้ไม่อยู่ในสถานะท่จี ะชําระหนี้ได้ (๒) รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินกิจการ และมีจํานวนหนี้แน่นอนตามมาตรา ๙๐/๙๒ วรรคหนึ่ง รวมทั้งรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย (๓) เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟ้ืนฟูกิจการ ผู้ร้องขอจะต้องแนบแผน พร้อมหลักฐานแสดงว่าเจ้าหน้ีได้ให้ความเห็นชอบในแผนไม่น้อยกว่า สองในสามของจํานวนหนี้ทั้งหมด
มาตรา ๙๐/๙๖ ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (๑) เหตุผลที่ทําให้มีการฟื้นฟูกิจการ (๒) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆของลูกหนี้ในขณะที่ยื่นคําร้องขอ
(๓) หลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการ (ก) ขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการ (ข) การชําระหนี้ การยืดกําหนดเวลาชําระหน้ี การลดจํานวนหนี้ลง และการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ โดยสิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้ได้รับการปฏิบัติ ที่เสียเปรียบในกลุ่มนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือ (ค) การลดทุนและเพ่ิมทุน (ง) การก่อหนี้และระดมเงินทุน รวมตลอดถึงแหล่งของเงินทุนและเง่ือนไขแห่งหนี้สิน และเงินทุนดังกล่าว (จ) การจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์สินของลูกหนี้ (ฉ) เงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและประโยชน์อื่นใด (๔) การไถ่ถอนหลักประกันในกรณีที่มีเจ้าหนี้มีประกันและความรับผิดของผู้ค้ําประกัน (๕) แนวทางแก้ปัญหาในกรณีขาดสภาพคล่องชั่วคราวระหว่างการปฏิบัติตามแผน (๖) วิธีปฏิบัติในกรณีท่ีมีการโอนสิทธิเรียกร้องหรือโอนหนี้ (๗) ช่ือคุณสมบัติหนังสือยินยอมของผู้บริหารแผนและค่าตอบแทน (๘) การแต่งตั้งและการพ้นตําแหน่งของผู้บริหารแผน (๙) ระยะเวลาดําเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินสามปี (๑๐) การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญา ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ มาตรา ๙๐/๙๗ ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องขอต้องชําระค่าขึ้นศาลหน่ึงพันบาท และ ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องขอต้องรับผิดชอบในการขอฟื้นฟูกิจการไว้ต่อศาลเป็นจํานวนหนึ่งหมื่นบาท ในขณะยื่นคําร้องขอหรือตามจํานวนที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องขอไม่ยอมวางเงินประกันตามวรรคหน่ึง ให้ถือว่าผู้ร้องขอทิ้งคําร้องขอให้ศาล จําหน่ายคดีออกจากสารบบความ มาตรา ๙๐/๙๘ ผู้ร้องขอจะถอนคําร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต แต่ถ้าศาลได้มีคําสั่ง ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคําร้องขอไม่ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องขอทิ้งคําร้องขอ หรือขาดนัดพิจารณา หรือศาลอนุญาตให้ถอนคําร้องขอ ก่อนที่ศาล จะสั่งจําหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายหน่ึงฉบับ เพ่ือให้เจ้าหน้ีทั้งหลายและลูกหน้ี ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ส่วนที่ ๓
การพิจารณาคําร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน
_____________________
|
มาตรา ๙๐/๙๙ เมื่อศาลสั่งรับคําร้องขอแล้ว ให้ดําเนินการไต่สวนเป็นการด่วนและให้ศาลประกาศ คําสั่งรับคําร้องขอและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายหนึ่งฉบับล่วงหน้าก่อนวันนัดไต่สวน ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน กับให้ส่งสําเนาคําร้องขอและแจ้งวันเวลานัดไต่สวนแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้ทั้งหลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และแจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนายทะเบียนจะได้จดแจ้งคําสั่งศาลไว้ในทะเบียนด้วย ทั้งนี้ ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคําคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน มาตรา ๙๐/๑๐๐ ในการไต่สวนคําร้องขอ ศาลต้องไต่สวนเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๐/๙๒ และมาตรา ๙๐/๙๕ และแผนเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ศาลสามารถให้ความเห็นชอบได้ตามมาตรา ๙๐/๑๐๑ ถ้าได้ความจริงและมีเหตุอันสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการและแผนเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งผู้ร้องขอยื่นคําร้องขอ โดยสุจริต ให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน มิฉะนั้นให้มีคําสั่งยกคําร้องขอ ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านคําร้องขอ ถ้าศาลเห็นสมควรจะงดการไต่สวนและมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และเห็นชอบด้วยแผนก็ได้ มาตรา ๙๐/๑๐๑ การให้ความเห็นชอบด้วยแผนของศาล ต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา ๙๐/๙๖ (๒) แผนได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้จํานวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนหนี้ทั้งหมด
(๓) ข้อเสนอในการชําระหนี้ตามแผนนั้นเป็นไปตามลําดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้เสียเปรียบจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือกับข้อเสนอชําระหนี้ในลําดับ ซึ่งแตกต่างออกไป (๔) เมื่อการดําเนินการตามแผนสําเร็จจะทําให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมี คําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และ (๕) เจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้ได้รับการปฏิบัติ ที่เสียเปรียบในกลุ่มนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ในกรณีที่แผนมีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา ๙๐/๙๖ ให้ศาลสอบถามผู้ร้องขอ ถ้าศาลเห็นว่า รายการในแผนที่ขาดไปนั้นไม่ใช่สาระสําคัญในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ถือว่าแผนมีรายการครบถ้วน ตามมาตรา ๙๐/๙๖ มาตรา ๙๐/๑๐๒ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอ ให้ศาลประกาศคําสั่งดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ รายวันที่แพร่หลายหน่ึงฉบับ กับให้ศาลแจ้งคําสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัทหรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยด่วน เพื่อนายทะเบียนจะได้จดแจ้งคําสั่งศาลไว้ ในทะเบียนด้วย มาตรา ๙๐/๑๐๓ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๐/๑๑ มาใช้บังคับกับการไต่สวนคําร้องขอของศาล โดยอนุโลม มาตรา ๙๐/๑๐๔ นับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกําหนดระยะเวลา ดําเนินการตามแผน หรือวันที่ดําเนินการเป็นผลสําเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ตามความในหมวดนี้ (๑) ห้ามมิให้ฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาหรือสั่งให้เลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ ถ้ามีการฟ้อง หรือร้องขอคดีดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดการพิจารณาคดีนั้นไว้ (๒) ห้ามมิให้นายทะเบียนมีคําสั่งให้เลิกหรือจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ และห้ามมิให้ นิติบคุ คลนั้นเลิกกันโดยประการอื่น (๓) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอข้อพิพาทที่ลูกหนี้ อาจต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการช้ีขาด ถ้ามูลแห่งหน้ีน้ันเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่ง ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดี หรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคําร้องขอ จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น (๔) ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ถ้ามูลแห่งหน้ีตามคําพิพากษาน้ัน เกิดขึ้นก่อนวันท่ีศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน ในกรณีที่ได้ดําเนินการบังคับคดีไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดการบังคับคดีน้ันไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคําร้องขอจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น หรือการบังคับคดีได้สําเร็จ บริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคําร้องขอ หรือการบังคับคดีตามคําพิพากษา ให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งเสร็จก่อนวันดังกล่าวนั้น ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้เป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเส่ียงต่อความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของทรัพย์สินนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายได้โดยวิธีขายทอดตลาด หรือวิธีอื่นที่สมควร แล้วให้กักเงินไว้ ถ้าศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน ก็ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีมอบเงินนั้นแก่ผู้บริหารแผนนําไปใช้จ่ายได้ ถ้าศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิก คําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน หรือยกเลิกการฟ้ืนฟูกิจการ ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงิน ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา (๕) ห้ามมิให้เจ้าหนี้มีประกันบังคับชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากศาลที่รับคําร้องขอ (๖) ห้ามมิให้เจ้าหนี้ซ่ึงบังคบั ชําระหน้ีได้เองตามกฎหมายยึดทรัพย์สินหรือขายทรัพย์สินของลูกหนี้
(๗) ห้ามมิให้เจ้าของทรัพย์สินที่เป็นสาระสําคัญในการดําเนินกิจการของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสัญญาเช่าที่ยังไม่สิ้น กําหนดเวลาท่ีได้ตกลงกันไว้ ติดตามและเอาคืนซ่ึงทรัพย์สินดังกล่าวท่ีอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของบุคคลอื่นที่อาศัยสิทธิของลูกหนี้ รวมตลอดจนฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้ซึ่งเกิดขึ้น จากสัญญาดังกล่าว ถ้ามีการฟ้องคดีดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดการพิจารณาคดีนั้นไว้ เว้นแต่ศาล ที่รับคําร้องขอจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น หรือหลังจากวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน ลูกหนี้หรือผู้บริหารแผน แล้วแต่กรณี ผิดนัดไม่ชําระค่าเช่าซ้ือ ราคา ค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ หรือค่าเช่า ตามสัญญา สองคราวติดต่อกัน หรือกระทําผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสําคัญ (๘) ห้ามมิให้ลูกหนี้จําหน่ายจ่ายโอนให้เช่าชําระหนี้ก่อหนี้หรือกระทําการใดๆที่ก่อให้เกิด ภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทําที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถ ดําเนินต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคําร้องขอจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น (๙) คําสั่งตามวิธีการชั่วคราวของศาลที่ให้ยึด อายัด ห้ามจําหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหน้ีชั่วคราว ซึ่งมีอยู่ก่อนวันท่ีศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอไว้เพ่ือพิจารณาน้ัน ให้ศาลท่ีรับคําร้องขอมีอํานาจสั่งให้ระงับผลบังคับไว้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างหน่ึงอย่างใดตามที่ เห็นสมควรก็ได้ แต่ถ้าต่อมาศาลน้ันมีคําสั่งยกคําร้องขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิกคําสั่งให้ฟ้ืนฟูกิจการ และเห็นชอบด้วยแผน หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ก็ให้มีคําสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวหรือคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ชั่วคราวดังกล่าวตามที่เห็นสมควรต่อไป (๑๐) ห้ามมิให้ผู้ประกอบการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ งดให้บริการแก่ลูกหน้ี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคําร้องขอ หรือหลังจากวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน ลูกหนี้หรือผู้บริหารแผน แล้วแต่กรณี ไม่ชําระค่าบริการท่ีเกิดข้ึนหลังจากวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และเห็นชอบด้วยแผนสองคราวติดต่อกัน แต่ไม่ห้ามผู้ประกอบการสาธารณูปโภคที่จะมีคําร้องให้ศาล ที่รับคําร้องขอมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามที่ศาลเห็นสมควร คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลหรือคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติ ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดของวรรคหนึ่งไม่มีผลผูกพันลูกหนี้ การออกคําสั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท นายทะเบียนนิติบุคคลท่ีเกี่ยวข้อง หรือผู้มีอํานาจหน้าท่ี เกี่ยวกับนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ การทํานิติกรรมหรือการชําระหนี้ใดๆ ที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในอนุมาตราหนึ่ง อนุมาตราใดของวรรคหนึ่ง การนั้นเป็นโมฆะ มาตรา ๙๐/๑๐๕ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๐/๑๓ มาตรา ๙๐/๑๔ และมาตรา ๙๐/๑๕ มาใช้บังคับกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อจํากัดสิทธิของเจ้าหนี้ การดําเนินการที่ถือเป็นการให้ ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้ีมีประกัน อายุความและระยะเวลาเกี่ยวกับการดําเนินกระบวนพิจารณาและการบังคับคดี และระยะเวลาเกี่ยวกับการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๔
การดําเนินการภายหลังศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน
_____________________
|
มาตรา ๙๐/๑๐๖ เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนให้ศาลประกาศคําสั่ง ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายหนึ่งฉบับ และแจ้งคําสั่งดังกล่าว ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยด่วน เพื่อนายทะเบียนจะได้ จดแจ้งคําส่ังศาลไว้ในทะเบียนด้วย กับให้แจ้งคําสั่งดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อนําคําสั่งดังกล่าว ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๙๐/๑๐๗ แผนซึ่งศาลมีคําสั่งเห็นชอบแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ที่ได้เข้าร่วมประชุมในการลงมติ เห็นชอบด้วยแผนหรือได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมในการลงมติดังกล่าว มิให้นํามาตรา ๑๐๕๕ (๑) (๒) และ (๔) มาตรา ๑๐๕๖ มาตรา ๑๐๕๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๑๑๗ มาตรา ๑๑๑๙ มาตรา ๑๑๔๕ มาตรา ๑๒๒๐ ถึงมาตรา ๑๒๒๘ และมาตรา ๑๒๓๘ ถึงมาตรา ๑๒๔๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้ คําสั่งของศาลที่ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคล ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ําประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ําประกัน ของลูกหนี้ ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งดังกลา่ ว และไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้น ตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคลเช่นว่านั้นจะยินยอมเป็นหนังสือด้วย มาตรา ๙๐/๑๐๘ ในระหว่างการดําเนินการตามแผน หากมีเจ้าหนี้ยื่นคําร้องต่อศาลเกี่ยวกับ มูลหนี้ที่ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนว่าลูกหนี้ไม่แสดงรายละเอียด แห่งหนี้สินของตน หรือแสดงจํานวนหนี้ที่ค้างชําระของเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ถูกต้อง ให้ศาลนัดพิจารณาเป็นการด่วน กับให้ส่งสําเนาคําร้องแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลาย ผู้บริหารแผน และลูกหนี้ หากศาลไต่สวนแล้วได้ความจริงตามที่เจ้าหนี้ร้องขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลสอบถามผู้บริหารแผน และลูกหนี้ถึงเหตุดังกล่าว ถ้าศาลเห็นว่าหนี้ที่มิได้แสดงหรือที่ได้แสดงไว้ในรายละเอียดแห่งหนี้สินนั้นเป็น ข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ก็ให้ศาลมีคําสั่งให้ผู้บริหารแผนหรือลูกหนี้แก้ไขแผนสําหรับหนี้ที่ ขาดหายไปหรือแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นว่านั้นให้ถูกต้อง และให้ถือว่าแผนยังมีผลผูกพันเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าหนี้ที่มิได้แสดงหรือที่ได้แสดงไว้ในรายละเอียดแห่งหนี้สินนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง ในสาระสําคัญ ก็ให้ศาลมีคําส่งั ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน มาตรา ๙๐/๑๐๙ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนให้อํานาจหน้าที่ ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ เว้นแต่สิทธิ ที่จะได้รับเงินปันผล ตกแก่ผู้บริหารแผน
มาตรา ๙๐/๑๑๐ ผู้บริหารแผนอาจร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ทําข้อบังคับของลูกหนี้ขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิของลูกหนี้ตามแนวทางที่กําหนดในแผน เมื่อศาลมีคําสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๐/๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๐/๑๑๑ ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ตาย (๒) นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้บริหารแผนเลิกกัน (๓) ศาลอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๖) พ้นจากตําแหน่งตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในแผน (๗) เมื่อระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง หรือเมื่อได้ดําเนินการเป็นผลสําเร็จตามแผน
(๘) ศาลมีคําสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๙๐/๑๑๓ มาตรา ๙๐/๑๑๒ ให้ผู้บริหารแผนจัดทํารายงานการปฏิบัติงานตามแผนเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกรอบสามเดือนตามรูปแบบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนด มาตรา ๙๐/๑๑๓ ในกรณีที่ผู้บริหารแผนไม่ดําเนินการตามแผน หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่สมควรเป็นผู้บริหารแผนต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล หรือเจ้าหน้ี ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือลูกหนี้มีคําร้องต่อศาล ศาลจะมีคําสั่งให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งหรือมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรก็ได้ มาตรา ๙๐/๑๑๔ เมื่อผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งและยังมีกิจการตามแผนที่จะต้องดําเนินต่อไป หากเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอชื่อผู้บริหารแผนคนใหม่ต่อศาล และไม่มีผู้คัดค้าน ก็ให้ศาลมีคําสั่งตั้งผู้นั้น เป็นผู้บริหารแผน กรณีที่มีการคัดค้านชื่อผู้บริหารแผน ให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ โดยเร็วที่สุดเพื่อลงมติเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ โดยมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ต้องไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน ในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอชื่อผู้นั้นต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้บริหารแผน เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ตามวรรคสองแล้ว แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจลงมติเลือกผู้บริหารแผน คนใหม่ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลนัดพิจารณารายงานของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นการด่วน และต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีเวลาส่งแจ้งความให้ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เมื่อศาลได้พิจารณาพยานหลักฐานในสํานวนและ ฟังคําชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ และลูกหนี้แล้ว ศาลจะมีคําสั่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้บริหารแผน หรือมีคําสั่งให้ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน หรือมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรก็ได้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๐/๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๐/๑๑๕ ในกรณีที่มีเหตุทําให้ผู้บริหารแผนทําหน้าที่ไม่ได้เป็นการชั่วคราวหรือในระหว่างที่ ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งและศาลยังมิได้มีคําสั่งตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่ ให้ศาลมีคําสั่งตั้งบุคคลใด บุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวจนกว่าเหตุเช่นว่านั้นสิ้นสุดลง หรือจนกว่าศาลจะได้มี คําสั่งตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่ ทั้งนี้ ให้ผู้บริหารแผนชั่วคราวมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้บริหารแผน ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๐/๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๕
การยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน
และการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
______________
|
มาตรา ๙๐/๑๑๖ ถ้าลูกหนี้ ผู้บริหารของลูกหนี้ ผู้บริหารแผน หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี เห็นว่าการฟื้นฟูกิจการได้ดําเนินการเป็นผลสําเร็จตามแผนแล้วให้รายงานขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิก การฟื้นฟูกิจการโดยไม่ชักช้า และให้ศาลนัดพิจารณาหากได้ความว่าการฟื้นฟูกิจการได้ดําเนินการเป็นผลสําเร็จ ตามแผน ก็ให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโดยไม่ชักช้า แต่ถ้าได้ความว่าการฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสําเร็จ ตามแผน ในกรณีที่ยังเหลือระยะเวลาดําเนินการตามแผน ก็ให้ศาลมีคําสั่งให้ดําเนินการฟื้นฟูกิจการต่อไป ภายในกําหนดระยะเวลาตามแผน ถ้าในระหว่างนั้นระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลงแล้วแต่เป็นที่ เห็นได้แน่ชัดว่าแผนได้ดําเนินการมาใกล้จะสําเร็จแล้ว ศาลจะขยายระยะเวลาดําเนินการตามแผนต่อไปอีก ตามควรแก่กรณีก็ได้ มิฉะนั้นให้ศาลดําเนินการต่อไปตามวรรคสอง เมื่อระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสําเร็จตามแผน ให้ผู้บริหารแผนหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี รายงานให้ศาลทราบภายในสิบสี่วันนับแต่ ระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุด ถ้าศาลเห็นสมควรก็ให้มีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและ เห็นชอบด้วยแผนหรือมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ นับแต่ระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลงจนกระทั่งศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และเห็นชอบด้วยแผนหรือมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ให้ผู้บริหารแผนคงมีอํานาจหน้าที่จัดการกิจการ และทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปเท่าที่จําเป็น มาตรา ๙๐/๑๑๗ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนหรือ มีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ให้ศาลแจ้งคําสั่งดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารแผน ลูกหนี้ และผู้บริหารของลูกหนี้ โดยไม่ชักช้า
เมื่อได้ทราบคําสั่งของศาลตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้บริหารแผนต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารที่เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของลูกหนี้แก่ลูกหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้โดยเร็วที่สุด ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๐/๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๐/๑๑๘ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน ให้อํานาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของลูกหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้ และให้ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้กลับมีสิทธิตามกฎหมายต่อไป มาตรา ๙๐/๑๑๙ คําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความผูกพันในหนี้ของลูกหนี้ กับเจ้าหนี้ตามแผน และให้มีผลดังนี้ (๑) ลูกหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้กลับมีอํานาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป
(๒) ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้กลับมีสิทธิตามกฎหมายต่อไป (๓) ค่าตอบแทนของผู้บริหารแผน และหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟนื้ ฟูกิจการของลูกหนี้ ยกเว้นหนี้ละเมิด เป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ โดยให้อยู่ในลําดับเดียวกับ บุริมสิทธิลําดับที่ ๑ ตามมาตรา ๒๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๐/๑๒๐ เมื่อศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนหรือมีคําสั่ง ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แต่ลูกหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้ยังไม่ได้เข้าไปจดั การกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ให้ผู้บริหารแผนมีอํานาจจัดการเพื่อรักษาประโยชน์ของลูกหนี้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าลูกหนี้ หรือผู้บริหารของลูกหนี้จะเข้าจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ถ้าตําแหน่งผู้บริหารของลูกหนี้ว่างอยู่ในวันที่ศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบ ด้วยแผนหรือมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไปได้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ หรือดําเนินการตามกฎหมายเพื่อให้มีการแต่งตั้งผู้บริหารของลูกหนี้ โดยเร็วที่สุด ในกรณีที่ต้องมีการประชุมเพื่อดําเนินการตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธาน ในการประชุมดังกล่าว และให้ถือว่าเป็นการประชุมของลูกหนี้ มาตรา ๙๐/๑๒๑ คําสั่งศาลที่ให้ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนและยกเลิก การฟื้นฟูกิจการไม่กระทบถึงการใดที่ผู้บริหารแผนได้กระทําไปแล้วก่อนศาลมีคําสั่งเช่นว่านั้น
ส่วนที่ ๖
บทกําหนดโทษ
____________
|
มาตรา ๙๐/๑๒๒ ผู้ใดยื่นคําร้องขอตามมาตรา ๙๐/๙๒ อันเป็นเท็จในสาระสําคัญ ซึ่งอาจทําให้ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือจําคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจํา
มาตรา ๙๐/๑๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙๐/๑๐๔ (๘) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามแสนบาท หรือจําคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจํา มาตรา ๙๐/๑๒๔ ลูกหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้ผู้ใดโดยทุจริตปกปิดรายละเอียดแห่งหนี้สิน ในสาระสําคัญ หรือแสดงจํานวนหนี้ที่ค้างชําระของเจ้าหน้ีท้ังหลายอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ ซึ่งอาจทําให้ เจ้าหนี้เสียหาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือจําคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจํา มาตรา ๙๐/๑๒๕ ผู้ใดล่วงรู้กิจการหรือข้อมูลใด ๆ ของลูกหนี้ที่ได้รับการฟื้นฟูกิจการเนื่องมาจาก การปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ที่กําหนดในหมวดนี้ อันเป็นกิจการหรือข้อมูลที่ตามปกติวิสัยของลูกหนี้ ที่ได้รับการฟื้นฟูจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ถ้าผู้นั้นนําไปเปิดเผยด้วยประการใด ๆ นอกจากตามหน้าที่หรือ เพ่ือประโยชน์ในการฟ้ืนฟูกิจการตามหมวดนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท หรอื จําคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจํา มาตรา ๙๐/๑๒๖ ผู้ใดเป็นผู้บริหารแผนหรือผู้บริหารแผนชั่วคราวปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต หรือกระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ โดยมุ่งหมายให้เกิดความเสียหาย แกล่ ูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือจําคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจํา มาตรา ๙๐/๑๒๗ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามความในหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิด ของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการหรือไม่ส่ังการ หรือกระทําการหรือไม่กระทําการ อันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทํา ของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่ บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๙๐/๑๒๘ ให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามความในหมวดนี้ด้วย”
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
|
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้ยังไม่ครอบคลุมลูกหนี้ซึ่งประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีท้ังบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือบริษัทจํากัด ซึ่งมีอยู่เป็นจํานวนมากในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน และประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ดังนั้น เพื่อให้ลูกหนี้ซ่ึงไม่อยู่ในสถานะที่จะชําระหนี้ได้มีโอกาสได้รับการฟื้นฟูกิจการและไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย หากมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
============================================================ |
รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา ของศาล โดย ทีมงานนักสืบและทนายความผู้เชี่ยวชาญ |
รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา ของศาล โดย ทีมงานนักสืบและทนายความผู้เชี่ยวชาญ จาก บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด เป็นการสืบหาทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของลูกหนี้ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของลูกหนี้ ทั้งทรัพย์สินที่เป็น สังหาริมทรัพย์ เช่น เงินเดือน รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตลอดจน บัญชีเงินฝากธนาคาร ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องต่างๆ และดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ตามปกติแล้ว ( อ่านรายละเอียด )
======================================================== |
กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทร 081-9151522, 090-0700080 email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่ (คลิกที่นี่)
|