หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

เมนู

 
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐)
พ.ศ. ๒๕๖๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน


               สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
              โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
               จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
               มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐”
               มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
               มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๒) คําฟ้องหรือคําร้องขอที่เสนอเก่ียวเนื่องกับการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ซี่งคําฟ้องหรือคําร้องขอนั้นจําต้องมีคําวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดําเนินไปได้โดยครบถ้วน และถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๗๑”
               มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลท่ีมีอํานาจในการบังคับคดี ให้บังคับตามมาตรา ๒๗๑ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า”
               มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๓๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๕) ขัดขืนไม่มาศาล เมื่อศาลได้มีคําส่ังตามมาตรา ๑๙ หรือเมื่อมีหมายเรียกลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือบุคคลอื่นตามมาตรา ๒๗๗”
               มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๗๐ บรรดาคําฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่น ๆ คําสั่ง คําบังคับของศาลในกรณี ต้องส่งคําบังคับ ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง แต่ว่า
               (๑) หมายเรียกพยาน ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นเป็นผู้ส่งโดยตรง เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น หรือพยานปฏิเสธไม่ยอมรับหมาย ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง
               (๒) คําสั่งของศาล รวมทั้งคําสั่งกําหนดวันนั่งพิจารณาหรือสืบพยาน แล้วแต่กรณี หรือคําสั่ง ให้เล่ือนคดี ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ในศาลในเวลาที่มีคําส่ังและได้ลงลายมือชื่อรับรู้ไว้ ให้ถือว่า ได้ส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คําฟ้องนั้น ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ส่วนการนําส่งนั้นโจทก์จะนําส่งหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าท่ีจัดการนําส่ง ส่วนหมายเรียก หมายอื่น ๆ คําสั่งของศาลที่ได้ออกตาม คําขอของคู่ความฝ่ายใด ถ้าศาลมิได้สั่งให้จัดการนําส่งด้วย ก็ให้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียม ในการส่ง ในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะจัดการส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง”
               มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๑๓๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๒) เม่ือโจทก์ไม่หาประกันมาให้ดังท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๓ และมาตรา ๓๒๓ หรือ เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายขาดนัดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๘ มาตรา ๒๐๐ และมาตรา ๒๐๑”
                มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๑๔๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๕) การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งตามมาตรา ๒๗๑”
               มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๔๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คําพิพากษาบังคับแก่บุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความ ในกระบวนพิจารณาของศาลด้วยก็ดี คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๒ (๑) มาตรา ๒๔๕ และมาตรา ๓๖๖ และในข้อต่อไปน้ี
               (๑) คําพิพากษาเก่ียวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือคําพิพากษาส่ังให้เลิก นิติบุคคล หรือคําสั่งเรื่องล้มละลายเหล่านี้ บุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิงหรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอก ก็ได้
               (๒) คําพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า”
               มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๑๕๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ในกรณีที่มีการเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ หรือมาตรา ๓๒๙ (๒) ให้เจ้าหนี้ ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปเป็นผู้ชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในส่วนที่ ดําเนินการบังคับคดีต่อไป”
               มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๑๕๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับท่ี ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “บทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ และ มาตรา ๓๒๙ (๒) โดยอนุโลม”
               มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๖๙/๒ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ในกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ผู้ประกันในศาล ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีในส่วนน้ัน ให้หักออกจากเงินที่ได้จากการบังคับคดีตามสัญญาประกัน”
               มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๑๖๙/๒ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา ๒๙๒ (๑) และ (๕) ให้เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี”
               มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๙๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความตอ่ ไปนี้แทน
               “การบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแก่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การนั้นให้บังคับตามมาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๘๙ และมาตรา ๓๓๘”
               มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๒๒/๔๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ซ่ึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับท่ี ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๒๒๒/๔๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาในคดีอื่นไว้แทนเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแล้ว ให้ทนายความฝ่ายโจทก์ในคดีแบบกลุ่ม มีอํานาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาล มีคําสั่งให้เฉลี่ยทรัพย์แก่ทนายความฝ่ายโจทก์ โจทก์ และสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๓๒๖ ตามจํานวนที่ มีสิทธิได้รับ”
               มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๒๒/๔๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๑) ผู้มีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อนตามมาตรา ๓๒๒ และมาตรา ๓๒๔”
               มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๒๒๒/๔๔ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๔) โจทก์ สมาชิกกลุ่ม และเจ้าหนี้อื่นที่มีสิทธิได้รับเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา ๓๒๖”
               มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๓๑ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจํานวนพอชําระหนี้ตามคําพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม ในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สําหรับเงินจํานวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๒ (๑)”
               มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๖๑ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๒๖๑ จําเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัด หรือคําสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคําสั่งดังกล่าว อาจมีคําขอ ต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคําสั่ง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตาม คําสั่งดังกล่าวได้ แต่ถ้าบุคคลภายนอกเช่นว่านั้นขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้านคําสั่งอายัดให้นํา มาตรา ๓๒๓ หรือมาตรา ๓๒๕ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
               มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง มาตรา ๒๗๑ ถึงมาตรา ๓๒๓ ของภาค ๔ วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับ ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน


“ลักษณะ ๒

การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง

_________________________


หมวด ๑

หลักทั่วไป

_________________________


ส่วนที่ ๑

ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี

________________________________________


               มาตรา ๒๗๑ ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดี ตามมาตรา ๒๗๖ และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
               ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓ (๒) และ (๓) ให้ศาลที่มี คําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
               ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีนอกเขตศาล ให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีมีอํานาจต้ังให้ศาลอื่น บังคับคดีแทนได้ หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาล ที่จะมีการบังคับคดีแทนทราบพร้อมด้วยสําเนาหมายบังคับคดีหรือสําเนาคําสั่งกําหนดวิธีการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลดังกล่าวแจ้งให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีทราบโดยไม่ชักช้า และให้ศาลที่จะมี การบังคับคดีแทนตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือมีคําสั่งอื่นใดเพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไป
ถ้าเป็นการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง ให้ศาลที่บังคับคดีแทนส่งทรัพย์สินที่ได้จาก การยึดหรืออายัดหรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เพื่อดําเนินการไปตามกฎหมาย
               ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลโดยบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้ศาล ที่บังคับคดีแทนมีอํานาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับคดีใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคําสั่งกําหนดวิธีการอย่างใดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น รวมถึงดําเนินกระบวนพิจารณาอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องได้ เว้นแต่เมื่อการบังคับคดี ได้เสร็จสิ้นและแจ้งผลการบังคับคดีไปยังศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีแล้ว ให้เป็นอํานาจของศาล ที่มีอํานาจในการบังคับคดีเท่านั้น


ส่วนที่ ๒

คําบังคับ

__________________


               มาตรา ๒๗๒ ถ้าศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ ตามคําพิพากษาก็ให้ศาลออกคําบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น และให้ถือว่า ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้วในวันนั้น
               ในคดีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาขาดนัดยื่นคําให้การหรือขาดนัดพิจารณา และลูกหนี้ตามคําพิพากษา ทนายความ หรือผู้รับมอบฉันทะจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวให้มาฟังคําพิพากษาหรือคําสั่ง มิได้อยู่ในศาล ในเวลาที่ออกคําบังคับ ให้บังคับตามมาตรา ๑๙๙ ทวิ หรือมาตรา ๒๐๗ แล้วแต่กรณี
               มาตรา ๒๗๓ ถ้าในคําบังคับได้กําหนดให้ใช้เงิน หรือให้ส่งทรัพย์สิน หรือให้กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดๆ ให้ศาลระบุไว้ในคําบังคับนั้นโดยชัดแจ้ง ซึ่งระยะเวลาและเงื่อนไขอื่นๆ อันจะต้องใช้เงิน ส่งทรัพย์สิน กระทําการ หรืองดเว้น กระทําการใดๆ นั้น แต่ถ้าเป็นคดีมโนสาเร่ ศาลไม่จําต้องให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเกินกว่าสิบห้าวันในอันที่จะปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือ คําสั่งนั้น
               ในคดีที่มีเหตุตามมาตรา ๒๗๒ วรรคสอง ให้ศาลให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาในอันที่จะ ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
               ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับแต่วันที่ถือว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบ คําบังคับแล้ว เว้นแต่ศาลจะได้กําหนดไว้โดยชัดแจ้งในเวลาที่ออกคําบังคับหรือในภายหลังว่าให้นับแต่ วันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
               ในระหว่างที่ระยะเวลาตามคําบังคับยังไม่ครบกําหนดหรือการปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขในคําบังคับ ยังไม่เสร็จสิ้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการอย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนก็ได้
              ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคสี่แล้ว คําสั่งนั้นยังคงมีผลต่อไปเท่าที่จําเป็น เพื่อปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ขอบังคับคดีภายในกําหนด สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ในคําบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ถือว่า คําสั่งนั้นเป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้น


ส่วนที่ ๓

การขอบังคับคดี

___________________


               มาตรา ๒๗๔ ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิ เรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดําเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้
               ถ้าคําพิพากษาหรือคําสั่งกําหนดให้ชําระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือ กําหนดให้ชําระหนี้อย่างใดในอนาคต ให้นับระยะเวลาสิบปีตามวรรคหนึ่งตั้งแต่วันที่หนี้ตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นอาจบังคับให้ชําระได้

               ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดีตามความในหมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด ๓ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะส่ิง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป
               มาตรา ๒๗๕ ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้มีการบังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาล ให้บังคับคดีโดยระบุให้ชัดแจ้งซึ่ง
               (๑) หนี้ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ
               (๒) วิธีการที่ขอให้ศาลบังคับคดีนั้น ในระหว่างที่ศาลยังมิได้กําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีคําขอตามวรรคหนึ่ง
               ถ้ามีเหตุจําเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการอย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนไว้ก่อนก็ได้ และถ้าศาลเห็นสมควร จะมีคําสั่งอนุญาตโดยไม่ต้อง ไต่สวนก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอโดยพลันให้ศาลยกเลิกคําสั่งอนุญาต ดังกล่าวได้ คําขอเช่นว่านี้อาจทําเป็นคําขอฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาล และถ้าศาลเห็นสมควร จะมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งอนุญาตนั้นโดยไม่ต้องไต่สวนก็ได้ คําสั่งของศาลตามวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
               ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตามวรรคสองแล้ว คําสั่งนั้น ยังคงมีผลต่อไปเท่าที่จําเป็นเพื่อปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล


ส่วนที่ ๔

การพิจารณาคําขอบังคับคดี

_______________________


               มาตรา ๒๗๖ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้บังคับคดี ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ตาม คําพิพากษาได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําบังคับแล้ว ทั้งระยะเวลาที่กําหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคําบังคับนั้น ได้ล่วงพ้นไปแล้ว และคําขอได้ระบุข้อความไว้ครบถ้วน ให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายนี้และตามมาตรา ๒๑๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังต่อไปนี้
               (๑) ถ้าการบังคับคดีต้องทําโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบเพื่อดําเนินการต่อไปตามที่กําหนดไว้ในหมายนั้น
               (๒) ถ้าการบังคับคดีอาจทําได้โดยไม่ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ศาลมีคําสั่งกําหนดวิธีการ ตามที่เห็นสมควรเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้กระทําได้
               (๓) ถ้าเป็นการขอให้ศาลสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้ดําเนินกระบวนพิจารณา ต่อไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการนั้น

               ในคดีมโนสาเร่ ก่อนออกหมายบังคับคดี หากศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลจะออกหมายเรียก ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลอื่นมาสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําพิพากษาเพื่อพิจารณาว่าสมควร จะออกหมายบังคับคดีหรือไม่ก็ได้
               ในกรณีที่ผู้ขอบังคับคดีขอให้ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการบังคับคดี หากมีเหตุสงสัยว่า ไม่สมควรบังคับคดีแก่ทรัพย์สินใดหรือมีเหตุสมควรอย่างอื่นเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกที่อาจได้รับ ความเสียหายจากการดําเนินการดังกล่าว ก่อนที่ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอ ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้ขอ บังคับคดีวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรเพื่อเป็นประกัน การชําระค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายอันจะพึงเกิดขึ้นเนื่องจากการดําเนินการบังคับคดีดังกล่าว ถ้าผู้ขอบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาลมีคําสั่งยกคําขอให้ดําเนินการบังคับคดีนั้นเสีย ส่วนเงินหรือหลักประกันที่วางไว้ต่อศาลดังกล่าว เมื่อศาลเห็นว่าไม่มีความจําเป็นที่จะต้องวางไว้ต่อไป จะสั่งคืนหรือยกเลิกประกันนั้นก็ได้ คําสั่งของศาลตามวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
               ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าเกิดความเสียหายจากการบังคับคดีโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ บังคับคดี ผู้ที่ได้รับความเสียหายอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการดําเนินการบังคับคดี เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้ขอบังคับคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ ในกรณี เช่นว่านี้ ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้ว เห็นว่าคําร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้ผู้ขอบังคับคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ผู้ที่ได้รับความเสียหายอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลนั้น เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา


ส่วนที่ ๕

การขอให้ศาลไต่สวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา

____________________________________________________


               มาตรา ๒๗๗ ในการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าลูกหนี้ ตามคําพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดี แต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือเก็บรักษาไว้ที่ใด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องเพื่อให้ศาล ทําการไต่สวนได้
               เมื่อมีคําขอตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่การบังคับคดีในคดีมโนสาเร่ ศาลมีอํานาจออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคําอันจะเป็นประโยชน์มาศาลด้วยตนเองเพื่อการไต่สวนเช่นว่านั้นได้ และมีอํานาจสั่งให้บุคคลนั้น ๆ ส่งเอกสาร หรือวัตถุพยานซึ่งอยู่ในความยึดถือหรืออํานาจของผู้นั้นอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ทั้งนี้ ตามกําหนดและเงื่อนไขใด ๆ ที่เห็นสมควร


ส่วนที่ ๖

อํานาจทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี

____________________________


               มาตรา ๒๗๘ เมื่อศาลได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอํานาจในฐานะเป็นเจ้าพนักงานศาลในการดําเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามที่ศาลได้กําหนดไว้ ในหมายบังคับคดีและตามบทบัญญัติในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ ทั้งนี้ จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ช่วยเหลือก็ได้ คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการดําเนินการบังคับคดีต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลไว้ด้วย
               ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจในฐานะเป็นผู้แทนของเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาในอันที่จะ รับชําระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอกนํามาวางและออกใบรับให้
               เงินที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอกนํามาวางโดยมิได้เป็นผลมาจากการยึดหรืออายัด ให้นํามาชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอบังคับคดี เว้นแต่ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยตามมาตรา ๓๒๖ อยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการวางเงินนั้น ก็ให้ถือว่าเป็นเงินที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ตามบทบัญญัติในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ แต่ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี
               ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําบันทึกวิธีการบังคับคดีทั้งหลายที่ได้จัดทําไปและเก็บรักษาไว้ใน ที่ปลอดภัย แล้วรายงานต่อศาลเป็นระยะ ๆ ไป
               ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้บุคคลอื่น ปฏิบัติการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
               ให้หักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง ๕ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ เพื่อให้ กรมบังคับคดีพิจารณาจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคห้าโดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็น รายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง
               มาตรา ๒๗๙ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรักษาไว้โดยปลอดภัยซึ่งเงิน ทรัพย์สิน และเอกสาร ที่ได้มาตามอํานาจหน้าที่ของตน รวมทั้งให้มีอํานาจขัดขวางมิให้บุคคลใดสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วย กฎหมายกับเงินหรือทรัพย์สินหรือเอกสารเช่นว่านั้น ตลอดจนมีอํานาจติดตามและเอาคืนซึ่งเงินหรือ ทรัพย์สินหรือเอกสารดังกล่าวจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาไว้

               ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีความจําเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจแจ้งให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจช่วยเหลือได้ ในกรณีเช่นนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจมีอํานาจ จับกุมและควบคุมตัวผู้สอดเข้าเก่ียวข้องหรือผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือตามวรรคหน่ึงได้เท่าที่จําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
               มาตรา ๒๘๐ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งตามบทบัญญัติในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ และให้รายงานการส่งเอกสารนั้นรวมไว้ในสํานวน การบังคับคดีด้วย ท้ังนี้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๖๘ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ และมาตรา ๘๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               นอกจากการส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจสั่งให้ส่งโดย ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศก็ได้ โดยให้ผู้มีหน้าที่นําส่งเป็น ผู้เสียค่าใช้จ่าย กรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเอกสารที่ส่งโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงาน บังคับคดีเป็นผู้ส่งและให้นําบทบัญญัติมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               ถ้าการส่งเอกสารไม่สามารถจะทําได้ดังท่ีบัญญัติไว้ตามวรรคหน่ึงและวรรคสอง เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอํานาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือ ปิดเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือ สํานักทําการงานของบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในเอกสารหรือมอบหมายเอกสารไว้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตํารวจแล้วปิดประกาศแสดงการที่ได้มอบหมายดังกล่าวแล้ว หรือลงโฆษณา หรือทําวิธีอื่นใดตามที่ เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกําหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีเห็นสมควรกําหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่เอกสารหรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ ปิดไว้หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งนั้นได้ทําหรือได้ตั้งต้นแล้ว
               การส่งเอกสารให้แก่คู่ความและบุคคลภายนอก ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคล ดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือผู้ประกอบกิจการ รับส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศ หรือโดยผ่านกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ หากไม่อาจ กระทําได้เพราะเหตุที่ภูมิลําเนาและสํานักทําการงานของบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏหรือเพราะเหตุอ่ืนใด หรือเมื่อได้ดําเนินการส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกแล้วแต่ไม่อาจทราบผลการส่งได้ ถ้าเจ้าพนักงาน บังคับคดีเห็นสมควร ให้มีอํานาจสั่งให้ส่งเอกสารโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือ ปิดเอกสารไว้ในที่แลเห็น ได้ง่าย ณ สํานักงานท่ีต้ังของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือลงโฆษณา หรือทําวิธีอื่นใดตามท่ีเห็นสมควร

               มาตรา ๒๘๑ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดําเนินการบังคับคดีในวันทําการงานปกติในเวลา ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ถ้ายังไม่แล้วเสร็จประกอบกับมีความจําเป็นและสมควร จะกระทําต่อไปในเวลาหลังพระอาทิตย์ตกก็ได้
               ในกรณีท่ีมีความจําเป็นและสมควร ศาลจะอนุญาตให้ดําเนินการบังคับคดีนอกวันทําการงานปกติ หรือในเวลาหลังพระอาทิตย์ตกก็ได้
               ในการดําเนินการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแสดงหมายบังคับคดี ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์สินที่จะถูกบังคับคดีทราบ ถ้าบุคคลดังกล่าว ไม่อยู่หรือไม่อาจแสดงหมายบังคับคดีแก่บุคคลดังกล่าวได้ด้วยเหตุใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดสําเนา หมายบังคับคดีไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ดําเนินการบังคับคดีนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่า เป็นการแสดงหมายบังคับคดีให้บุคคลดังกล่าวทราบแล้ว
               มาตรา ๒๘๒ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีทรัพย์สินของลูกหน้ีตามคําพิพากษาหรือมีบัญชี เอกสาร จดหมาย หรือวัตถุอื่นใดเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ตามคําพิพากษาอยู่ในสถานที่ใด ๆ ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาครอบครองหรือครอบครองร่วมกับผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจค้น สถานที่ดังกล่าว ทั้งมีอํานาจตรวจสอบและยึดบัญชี เอกสาร จดหมาย หรือวัตถุอื่นใดอันเกี่ยวกับ ทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ตามคําพิพากษามาเพื่อตรวจสอบได้ และมีอํานาจกระทําการใด ๆ ตามที่ จําเป็น เพื่อเปิดสถานที่ดังกล่าวรวมทั้งตู้นิรภัย ตู้ หรือที่เก็บของอื่น ๆ
               มาตรา ๒๘๓ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือมีบัญชี เอกสาร จดหมาย หรือวัตถุอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ตามคําพิพากษาอยู่ในสถานท่ี ท่ีบุคคลอื่นครอบครองอยู่ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลออกหมายค้นสถานที่นั้น เมื่อได้รับคําร้องเช่นว่านี้ ให้ศาลไต่สวนโดยไม่ชักช้า ถ้าเป็นท่ีพอใจ จากพยานหลักฐานท่ีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้นํามาสืบหรือที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่ามีเหตุอันควรเช่ือ ตามที่ร้องขอ ให้ศาลมีอํานาจออกหมายค้นสถานที่นั้นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบและ ยึดทรัพย์สินหรือสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวภายในขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นว่าจําเป็น ถ้าศาลมีคําสั่งยกคําขอ คําสั่งเช่นว่านั้นให้เป็นที่สุด
               มาตรา ๒๘๔ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจดําเนินการไปตามความจําเป็นและสมควร แห่งพฤติการณ์เพ่ือดําเนินการบังคับคดีจนได้ ในกรณีที่มีผู้ขัดขวางหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีผู้ขัดขวาง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจช่วยเหลือได้ ในการน้ีให้พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจมีอํานาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ขัดขวางได้เท่าที่จําเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี

               มาตรา ๒๘๕ ความรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อลูกหนี้ตาม คําพิพากษาหรือต่อบุคคลภายนอกเพื่อความเสียหายที่เกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการยึด อายัด หรือ ขายทรัพย์สินโดยมิชอบหรือเกินกว่าท่ีจําเป็นแก่การบังคับคดี หรือการบังคับคดีโดยมิชอบในกรณีอ่ืน ย่อมไม่ตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ตกอยู่แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เว้นแต่ในกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้กระทําการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
               ในกรณีที่ความรับผิดตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง และเป็นเร่ืองความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ การใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่หรือตามกฎหมายอื่นไม่ว่าโดยบุคคลใด ให้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรม
               ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอันจะต้องยึดหรืออายัด หรือ ไม่ขายทรัพย์สิน หรือไม่ดําเนินการบังคับคดีในกรณีอื่น หรือไม่กระทําการดังกล่าวภายในเวลาอันควร โดยจงใจหรือปราศจากความระมัดระวังหรือโดยสมรู้เป็นใจกับลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาได้รับความเสียหาย ให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา ๒๘๖ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับการดําเนินการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอื่นที่ไม่ใช่ ศาลยุติธรรม คําว่า ศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๘๕ วรรคสอง ให้หมายถึงศาลนั้น


ส่วนที่ ๗

ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

____________________


               มาตรา ๒๘๗ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ได้แก่
               (๑) เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และในกรณีที่มีการอายัดสิทธิเรียกร้อง ให้รวมถึงลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ผู้ทรงสิทธิเรียกร้อง หรือผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นด้วย
               (๒) บุคคลผู้มีทรัพยสิทธิหรือได้จดทะเบียนสิทธิของตนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
               (๓) บุคคลซึ่งได้ยื่นคําร้องขอตามมาตรา ๓๒๓ มาตรา ๓๒๔ มาตรา ๓๒๖ และมาตรา ๓๒๙ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี
               (๔) บุคคลผู้เป็นเจ้าของรวมหรือบุคคลผู้มีบุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นตามมาตรา ๓๒๒ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี
               (๕) บุคคลอื่นใดซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุแห่งการดําเนินการบังคับคดีนั้น
               มาตรา ๒๘๘ นอกจากสิทธิอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้แล้ว ให้ผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดีมีสิทธิดังต่อไปนี้

               (๑) อยู่รู้เห็นด้วยในการดําเนินการบังคับคดีที่ตนมีส่วนได้เสีย แต่ต้องไม่ทําการป้องกันหรือ ขัดขวางการบังคับคดี รวมทั้งเข้าสู้ราคาหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด
               (๒) ขออนุญาตตรวจหรือคัดสําเนาเอกสารอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางฉบับ หรือขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคัดหรือรับรองสําเนาเอกสารนั้นโดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ในตาราง ๒ ท้ายประมวลกฎหมายนี้


ส่วนที่ ๘

การงดการบังคับคดี

_______________


               มาตรา ๒๘๙ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีในกรณีดังต่อไปนี้
               (๑) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้งดการบังคับคดีเพราะเหตุมีการยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่และได้แจ้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๐๗
               ในกรณีดังกล่าว ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําร้องว่าตนอาจได้รับความเสียหายจากการยื่นคําขอ ดังกล่าวและมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคําขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงการบังคับคดี ศาลมีอํานาจสั่งให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินหรือหาประกันตามที่ศาลเห็นสมควรภายในระยะเวลา ที่ศาลจะกําหนด เพื่อเป็นประกันการชําระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับความเสียหาย ที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดจากการยื่นคําขอนั้น หรือกําหนดวิธีการชั่วคราว เพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาล สั่งเพิกถอนคําสั่งที่ให้งดการบังคับคดี
               (๒) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้งดการบังคับคดี และได้ส่งคําสั่งนั้นไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขตามที่ศาลกําหนด
               (๓) เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนตกลงงด การบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาที่กําหนดไว้หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งโดยได้รับความยินยอมเป็น หนังสือจากลูกหนี้ตามคําพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
               (๔) เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕๔
               ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคําบอกกล่าวงดการบังคับคดีให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาและ บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยไม่ชักช้า เว้นแต่จะได้งดการบังคับคดีตามคําขอของบุคคลนั้นเอง
               มาตรา ๒๙๐ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องต่อศาลให้งดการบังคับคดีไว้ โดยเหตุที่ ตนได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นไว้แล้ว ซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด และถ้าหากตนเป็นฝ่ายชนะจะไม่ต้องมีการยึด อายัด ขายทอดตลาด หรือจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาโดยวิธีอื่น เพราะสามารถจะหักกลบลบหนี้กันได้
               ถ้าศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคําพิพากษามีเหตุฟังได้ ศาลอาจมีคําสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ คําสั่งน้ีอาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด ๆ หรือไม่ก็ได้ และศาลจะมีคําส่ังให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจํานวนที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อเป็น ประกันการชําระหนี้ตามคําพิพากษาและค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับความเสียหาย ท่ีอาจได้รับเน่ืองจากเหตุเน่ินช้าในการบังคับคดีอันเกิดจากการยื่นคําร้องน้ันด้วยก็ได้
               คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
               มาตรา ๒๙๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการบังคับคดีไว้ตามคําสั่งของศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อได้รับคําสั่งจากศาล โดยศาลเป็นผู้ออกคําสั่งนั้นเองหรือ โดยเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้ยื่นคําขอให้ศาลออกคําสั่ง เนื่องจากระยะเวลาที่ให้งดการบังคับคดีนั้นได้ล่วงพ้น ไปแล้ว หรือมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ศาลได้กําหนดไว้ หรือคดีนั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้พิพากษายืน หรือไม่มีความจําเป็นที่จะต้องงดการบังคับคดีอีกต่อไปแล้ว
               ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการบังคับคดีไว้ตามมาตรา ๒๘๙ (๓) หรือ (๔) ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีดําเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อระยะเวลาที่ให้งดการบังคับคดีได้ล่วงพ้นไปแล้ว หรือมิได้เป็นไป ตามเงื่อนไขท่ีเจ้าหน้ีตามคําพิพากษาได้กําหนดไว้ หรือเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕๔ แล้ว


ส่วนที่ ๙

การถอนการบังคับคดี

_________________


               มาตรา ๒๙๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีดังต่อไปนี้
               (๑) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากลูกหนี้ตามคําพิพากษายื่นอุทธรณ์หรือฎีกา และได้วางเงินต่อศาลเป็นจํานวนพอชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียม ในการบังคับคดี หรือได้หาประกนั มาให้จนเป็นที่พอใจของศาลสําหรับจํานวนเงินเช่นว่านี้
               (๒) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับ หรือถูกยก หรือหมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอน แต่ถ้าคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับแต่เพียง บางส่วน การบังคับคดีอาจดําเนินการต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชําระแก่เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา

               (๓) เมื่อศาลได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลมีคําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตาม มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสาม หรือมาตรา ๒๐๗
               (๔) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีตามมาตรา ๒๙๓
               (๕) เมื่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้วางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อเป็นการชําระหนี้ตาม คําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
               (๖) เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนสละสิทธิ ในการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาน้ันจะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับ หนี้นั้นอีกมิได้
               (๗) เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนขอถอน การบังคับคดี
               มาตรา ๒๙๓ ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้ศาลส่ังถอนการบังคับคดีน้ันเสีย
               มาตรา ๒๙๔ ในกรณีท่ีมีการยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน หรือในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรือ อายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือ ถอนโดยคําสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดเป็น ลูกหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี บังคับคดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวง


ส่วนที่ ๑๐

การเพิกถอนหรือแก้ไขการบังคับคดีที่ผิดระเบียบ

__________________________________


               มาตรา ๒๙๕ ในกรณีที่คําบังคับ หมายบังคับคดี หรือคําสั่งศาลในชั้นบังคับคดีบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจําเป็นจะต้องเพิกถอนหรือแก้ไขคําบังคับ หมายบังคับคดี หรือคําสั่งดังกล่าวนั้น เมื่อศาลเห็นสมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาล หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว ยื่นคําร้องต่อศาล ให้ศาลมีอํานาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคําบังคับ หมายบังคับคดี หรือคําสั่งดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีคําสั่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร

               ภายใต้บังคับมาตรา ๓๓๑ วรรคสาม ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดําเนินการบังคับคดีบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อศาลเห็นสมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหน้ีตามคําพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซ่ึงต้องเสียหาย เพราะเหตุดังกล่าว ยื่นคําร้องต่อศาล ให้ศาลมีอํานาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดี ทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะหรือมีคําสั่งกําหนดวิธีการอย่างใดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ ศาลเห็นสมควร
               การยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอาจกระทําได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างน้ัน ทั้งน้ี ผู้ยื่นคําร้องต้องมิได้ดําเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย นั้นแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การกระทํานั้น และในกรณีเช่นว่านี้ผู้ยื่นคําร้องจะขอต่อศาล ในขณะเดียวกันนั้นให้มีคําสั่งงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเมื่อได้มีการดําเนินการดังต่อไปนี้
               (๑) ในกรณีที่คําบังคับกําหนดให้ส่งทรัพย์สิน กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใด เม่ือได้มีการปฏิบัติตามคําบังคับที่ให้ส่งทรัพย์สิน กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างน้ันแล้ว แต่ถ้าการปฏิบัติตามคําบังคับดังกล่าวอาจแยกเป็นส่วน ๆ ได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามคําบังคับในส่วนใดแล้ว ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะในส่วนนั้น
               (๒) ในกรณีที่คําบังคับกําหนดให้ใช้เงิน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตามมาตรา ๓๓๙ มาตรา ๓๔๐ มาตรา ๓๔๒ มาตรา ๓๔๓ หรือมาตรา ๓๔๔ แล้วแต่กรณี แล้ว แต่ถ้าทรัพย์สินที่ถูก บังคับคดีมีหลายรายการ เม่ือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการ ใดแล้ว ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะทรัพย์สินรายการนั้น
               ในการยื่นคําร้องต่อศาลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า คําร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้ยื่นคําร้องวางเงินหรือหาประกันต่อ ศาลตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรเพื่อเป็นประกันการชําระค่าสินไหมทดแทนแก่ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลนั้นสําหรับความเสียหายที่อาจได้รับจากการยื่นคําร้องนั้น ถ้าผู้ยื่นคําร้อง ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาลมีคําสั่งยกคําร้องนั้นเสีย ส่วนเงินหรือประกันที่วางไว้ต่อศาลดังกล่าว เม่ือศาลเห็นว่าไม่มีความจําเป็นต่อไป จะส่ังคืนหรือยกเลิกประกันนั้นก็ได้ คําส่ังของศาลที่ออกตามความ ในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
               ในกรณีที่ศาลได้มีคําสั่งยกคําร้องที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ถ้าบุคคลที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการยื่นคําร้องดังกล่าวเห็นว่าคําร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพ่ือประวิงให้ชักช้า บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคําสั่งยกคําร้อง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้ยื่นคําร้องนั้น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจาก คดีเดิม และเม่ือศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคําร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําส่ังให้ผู้ยื่นคําร้องน้ันชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่บุคคลที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าผู้ยื่นคําร้องนั้นไม่ปฏิบัติ ตามคําสั่งศาล บุคคลที่ได้รับความเสียหายอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่ผู้ยื่นคําร้องนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็น ลูกหนี้ตามคําพิพากษา


หมวด ๒

การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน

_______________________


ส่วนที่ ๑

อํานาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี

_______________________


               มาตรา ๒๙๖ ในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ชําระเงิน ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอํานาจบังคับคดีโดยวิธีดังต่อไปนี้
               (๑) ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               (๒) อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชําระเงินหรือ สง่ มอบหรือโอนทรัพย์สิน
               (๓) อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชําระหนี้อย่างอื่น นอกจากที่กล่าวมาแล้วใน (๒)
               (๔) ขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึดหรือการอายัดหรือ ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ได้อายัดไว้
               ในกรณีที่ยังไม่อาจยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาเนื่องจาก มีเหตุขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทําให้ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ทันที เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเองหรือ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาร้องขอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจสั่งห้ามมิให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา โอน ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไว้เป็นการชั่วคราวไว้ก่อนได้เท่าที่ จําเป็น และถ้าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกมีส่วน เกี่ยวข้องด้วย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นทราบ หรือ หากทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่จะต้องจดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้ ตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคําสั่งห้ามดังกล่าวให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบ ถ้าได้มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ในทะเบียน และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๑๕ (๑) และมาตรา ๓๒๐ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีมีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานบังคับคดี อาจมีคําสั่งยกเลิก หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งดังกล่าวได้ โดยให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๖๑ และ มาตรา ๒๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               ในกรณีเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงหรือไม่มีความจําเป็นต้องบังคับคดีต่อไป หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เพิกเฉยไม่ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แจ้งยกเลิกคําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
               มาตรา ๒๙๗ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจบังคับคดีเอากับทรัพย์สินดังต่อไปนี้ได้ เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๖
               (๑) สินสมรสของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคําพิพากษา เฉพาะในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และคู่สมรสเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา ๑๔๙๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือทรัพย์สิน ของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคําพิพากษาซึ่งตามกฎหมายอาจบังคับเอาชําระหนี้ตามคําพิพากษาได้
               (๒) ทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งตามกฎหมายอาจบังคับเอาชําระหนี้ตามคําพิพากษาได้
               ให้นําบทบัญญัติในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ที่เกี่ยวกับการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คําพิพากษามาใช้บังคับในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของบุคคลตามมาตรานี้โดยอนุโลม
               มาตรา ๒๙๘ ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอ้างว่าเป็นของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษามีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของ บุคคลอื่น หากเจ้าพนักงานบังคับคดีสงสัยว่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตาม คําพิพากษาและไม่ยอมทําการยึดหรืออายัด ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายืนยันให้ยึดหรืออายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจะสั่งงดการยึดหรือการอายัดก็ได้ ในกรณีที่สั่งงด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามการโอน ขาย ยักย้าย จําหน่าย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่า หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไว้ก่อน
               คําสั่งห้ามของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่งให้มีผลใช้บังคับได้ทันที และให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งคําสั่งห้ามให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และบุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง ตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นทราบโดยเร็ว ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สิน ที่จะต้องจดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคําสั่งห้ามดังกล่าว ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบด้วยถ้าได้มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไว้ในทะเบียน ทั้งนี้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๑๕ (๑) และมาตรา ๓๒๐ (๑) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดี มีคําสั่งงดการยึดหรือการอายัดตามวรรคหนึ่ง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการยึด ทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลส่งสําเนาคําร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและ บุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นทราบ และบุคคลดังกล่าวอาจคัดค้านว่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ โดยยื่น คําคัดค้านต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับสําเนาคําร้อง และให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๒๓ หรือ มาตรา ๓๒๕ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยหากศาลมีคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิ เรียกร้องแล้ว บุคคลดังกล่าวที่ได้ยื่นคําคัดค้านตามวรรคนี้จะใช้สิทธิตามมาตรา ๓๒๓ หรือมาตรา ๓๒๕ แล้วแต่กรณี อีกหาได้ไม่
               ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องภายในกําหนดเวลาตามวรรคสามหรือศาลมีคําสั่ง ยกคําร้องดังกล่าว หรือในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องในวรรคสาม แต่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ไม่ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง ให้คําสั่งห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นอันยกเลิกไป และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการยกเลิกคําสั่งห้ามดังกล่าว ให้บุคคลตามวรรคสองทราบด้วย
               มาตรา ๒๙๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามตามมาตรา ๒๙๘ วรรคหนึ่ง บุคคล ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่น หรือผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น จะร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เพิกถอนคําสั่งห้ามดังกล่าว โดยวางเงินหรือหาประกันมาให้แทนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นก็ได้ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีพอใจในเงิน หรือประกันก็ให้เพิกถอนคําสั่งห้ามดังกล่าวและรับเงินหรือประกันนั้นไว้
               ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เพิกถอนคําสั่งห้ามตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องนั้นจะยื่นคําร้องต่อศาล ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งห้ามโดยวางเงิน หรือหาประกันมาให้ก็ได้ ให้ศาลส่งสําเนาคําร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เพื่อทําการไต่สวนเป็นการด่วน คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด
               ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๒๙๘ วรรคสาม ถ้าไม่อาจ ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่ได้มีการวางเงินหรือประกันไว้แทนทรัพย์สินหรือสิทธิ เรียกร้องนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจขอให้ศาลดําเนินการบังคับคดีแก่เงินหรือประกันที่รับไว้หรือ แก่ผู้ประกันได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

               ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องหรือศาลมีคําสั่งยกคําร้องตามมาตรา ๒๙๘ วรรคสาม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินหรือประกันที่รับไว้แก่ผู้วางเงินหรือประกันนั้นหรือยกเลิกการประกัน
               มาตรา ๓๐๐ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้หรือศาลมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือขายทอดตลาด หรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ได้มาจากการยึดหรืออายัดหลายรายเกินกว่า ที่พอจะชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียม ในการบังคับคดี
               ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องรายใดที่มีราคาสูงเกินกว่าที่พอจะ ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ถ้าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นอยู่ในสภาพที่จะแบ่งยึดหรืออายัดได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจแบ่งยึดหรือแบ่งอายัดทรัพย์สินหรือ สิทธิเรียกร้องรายใดแต่เพียงบางส่วนหรือเฉพาะส่วนแห่งกรรมสิทธิ์เท่าที่พอจะชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
               บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านคําสั่งหรือการดําเนินการตามวรรคหนึ่งหรือ วรรคสองของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยยื่นคําร้องต่อศาลก่อนวันขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่น แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งหรือการดําเนินการนั้น คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด


ส่วนที่ ๒

ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

__________________________________


               มาตรา ๓๐๑ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่ง การบังคับคดี
               (๑) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณรวมกัน ราคาไม่เกินประเภทละสองหมื่นบาท แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เจ้าพนักงานบังคับคดี จะกําหนดให้ทรัพย์สินแต่ละประเภทดังกล่าวที่มีราคารวมกันเกินสองหมื่นบาทเป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ใน ความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               (๒) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพเท่าท่ีจําเป็น ในการเลี้ยงชีพของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ราคารวมกันโดยประมาณไม่เกินหนึ่งแสนบาท แต่ถ้าลูกหนี้ ตามคําพิพากษามีความจําเป็นในการเลี้ยงชีพก็อาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตใช้สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้เท่าที่จําเป็นในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพในกิจการดังกล่าวของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาอันมีราคารวมกันเกินกว่าจํานวนราคาที่กําหนดนั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตหรืออนุญาตได้เท่าที่จําเป็นภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
               (๓) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จําเป็นต้องใช้ทําหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               (๔) ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือ สําหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมาย หรือสมุดบัญชีต่าง ๆ
               (๕) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี
               ทรัพย์สินหรือจํานวนราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งกําหนดใหม่ได้ คําสั่งของ เจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวนั้น ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจร้องคัดค้าน ต่อศาลได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลมีคําสั่ง ตามที่เห็นสมควร
               ในกรณีที่พฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจ ยื่นคําร้องให้ศาลมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือจํานวนราคาทรัพย์สินที่ศาลกําหนดไว้เดิมได้
               ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้ขยายไปถึงทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งอันเป็นของ คู่สมรสของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือของบุคคลอื่น ซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจบังคับเอาชําระหนี้ ตามคําพิพากษาได้
               มาตรา ๓๐๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
               (๑) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้ เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจํานวนไม่เกินเดือนละสองหมื่นบาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นสมควร
               (๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่หน่วยราชการ ได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
               (๓) เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อ่ืนในลักษณะเดียวกัน ของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่นายจ้างหรือบุคคลอื่นใดได้จ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินเดือนละ สองหมื่นบาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
               (๔) บําเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม (๓) เป็นจํานวนไม่เกิน สามแสนบาทหรือ ตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
               (๕) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่น เป็นจํานวนตามที่จําเป็นในการดําเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นสมควร
               ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กําหนดจํานวนเงินตาม (๑) (๓) และ (๔) ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีคํานึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหน้ีตามคําพิพากษาและจํานวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคําพิพากษาด้วย และสําหรับในกรณีตาม (๑) และ (๓) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นตํ่าสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นและ ไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น
               ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับจํานวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคําร้องต่อ ศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกําหนดจํานวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกําหนด จํานวนเงินใหม่ได้
               ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดํารงชีพของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตาม วรรคสามจะย่ืนคําร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กําหนดจํานวนเงินตาม (๑) และ (๓) ใหม่ก็ได้


ส่วนที่ ๓

การยึดทรัพย์สิน

______________


               มาตรา ๓๐๓ การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีกระทําโดย
               (๑) นําทรัพย์นั้นมาเก็บรักษาไว้ หรือฝากทรัพย์นั้นไว้ ณ สถานที่ใดหรือแก่บุคคลใดตามที่ เห็นสมควรหรือมอบให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้รักษาทรัพย์นั้นโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา

               (๒) แจ้งรายการทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์นั้น ทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ปิดประกาศแจ้งรายการทรัพย์ที่ยึดไว้ ณ สถานที่ที่กระทําการยึด หรือ แจ้งโดยวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
               (๓) แสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งโดยการประทับตราหรือโดยวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นสมควรว่าได้มีการยึดทรัพย์นั้นแล้ว
               มาตรา ๓๐๔ การยึด เรือ แพ สัตว์พาหนะ หรือสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างอย่างอื่นของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาซึ่งจะต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์หรือได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้แล้วตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีกระทําโดย
               (๑) ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๓
               (๒) แจ้งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้นทราบ ถ้าได้มีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ บันทึกการยดึ ไว้ในทะเบียน
               มาตรา ๓๐๕ การยึดหลักทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย
               (๑) ในกรณีที่ยังไม่มีการออกใบตราสาร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ ที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ออกหลักทรัพย์นั้นทราบ และเมื่อได้ดําเนินการยึดหลักทรัพย์ดังกล่าว เสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งให้ผู้ออกหลักทรัพย์ออกใบตราสารส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี
               (๒) ในกรณีที่มีการออกใบตราสารแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ ที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้ออกหลักทรัพย์ และผู้ครอบครองตราสารเท่าที่ทราบ รวมทั้งบุคคล ซึ่งต้องชําระหนี้ตามตราสารนั้น ทราบ และเมื่อได้ดําเนินการยึดหลักทรัพย์ดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีนําตราสารนั้นมาเก็บรักษาไว้หากสามารถนํามาได้
               (๓) ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษา ผู้ออกหลักทรัพย์ ผู้ฝากหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ทราบ เพื่อปฏิบัติตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
               (๔) ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีการออกใบตราสาร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการ และจํานวนหลักทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ออกหลักทรัพย์ทราบ เพื่อปฏิบัติตามที่ได้รับแจ้ง จากเจ้าพนักงานบังคับคดี

               ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ ให้ปิดประกาศแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ ที่ยึดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคลเช่นว่านั้น หรือแจ้งโดยวิธีอื่นใด ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร และให้มีผลใช้ได้นับแต่เวลาที่ประกาศนั้นได้ปิดไว้หรือการแจ้ง โดยวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรนั้นได้ทําหรือได้ตั้งต้นแล้ว
               มาตรา ๓๐๖ การยึดตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้นํา บทบัญญัติมาตรา ๓๐๕ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้มีผลเป็นการอายัด สิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินหรือตราสารนั้นด้วย
               ในกรณีที่เห็นสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้จําหน่ายตามราคา ที่ปรากฏในตั๋วเงินหรือตราสารหรือราคาต่ํากว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาลสั่งยกคําร้อง ให้นําตั๋วเงิน หรือตราสารนั้นออกขายทอดตลาด
               มาตรา ๓๐๗ การยึดหุ้นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาซึ่งเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด ในห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือผู้ถือหุ้นในบริษัทจํากัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย
               (๑) แจ้งการยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและห้างหุ้นส่วนจํากัดหรือบริษัทจํากัดที่ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอยู่ทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง
               (๒) แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทนั้นบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน
               มาตรา ๓๐๘ การยึดสิทธิในสิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิอย่างอื่นของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือที่เกี่ยวเนื่องกันกับสิทธิดังกล่าว ซึ่งได้จดทะเบียนหรือ ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย
               (๑) แจ้งรายการสิทธิที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการ ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง
               (๒) แจ้งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้นบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน
               มาตรา ๓๐๙ การยึดสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียน ลิขสิทธิ์ สิทธิขอรับ สิทธิบัตร สิทธิในชื่อทางการค้าหรือยี่ห้อ หรือสิทธิอย่างอื่นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกันหรือที่เกี่ยวเนื่องกันกับสิทธิดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดยแจ้งรายการสิทธิที่ยึด ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง

               มาตรา ๓๑๐ การยึดสิทธิการเช่าทรัพย์สินหรือสิทธิที่จะได้ใช้บริการต่าง ๆ ซึ่งอาจมีราคา และถือเอาได้ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา เช่น บริการโทรศัพท์หรือโทรคมนาคม หรือบริการอื่นใดที่อาจ ได้รับจากทรัพย์สินหรือบริการของผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย
               (๑) แจ้งรายการสิทธิที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการ แล้วแต่กรณี ทราบ ถ้าไม่สามารถ กระทําได้ ให้ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง
               (๒) ในกรณีที่ได้มีการจดทะเบียนการเช่าทรัพย์สินหรือการให้บริการดังกล่าว ให้แจ้งนายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นบันทึกการยึดไว้ในทะเบียนด้วย
               มาตรา ๓๑๑ การยึดสิทธิของลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามใบอนุญาต ประทานบัตร อาชญาบัตร สัมปทาน หรือสิทธิอย่างอื่นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือท่ีเก่ียวเนื่องกัน กับสิทธิดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย
               (๑) แจ้งรายการสิทธิที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการ ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง
               (๒) แจ้งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน
               มาตรา ๓๑๒ การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กระทําโดย
               (๑) นําหนังสือสําคัญสําหรับทรัพย์นั้นมาเก็บรักษาไว้ หรือฝากไว้แก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร เว้นแต่ทรัพย์นั้นยังไม่มีหนังสือสําคัญหรือนําหนังสือสําคัญมาไม่ได้
               (๒) แสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งโดยการปิดประกาศไว้ที่ทรัพย์นั้นว่า ได้มีการยึดทรัพย์นั้นแล้ว (๓) แจ้งรายการทรัพย์ที่ยึดให้บุคคลดังต่อไปนี้ทราบ
               (ก) ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               (ข) บุคคลอื่นซึ่งมีชื่อในทะเบียนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
               (ค) เจ้าพนักงานท่ีดินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น ถ้าทรัพย์นั้นมีทะเบียน ให้เจ้าพนักงานที่ดินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการยึดไว้ ในทะเบียน
               ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งตามวรรคหนึ่ง (๓) (ก) หรือ (ข) ได้ ให้ปิดประกาศแจ้งรายการทรัพย์ ที่ยึดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคลเช่นว่านั้น หรือแจ้งโดยวิธีอื่นใด ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร และให้มีผลใช้ได้นับแต่เวลาท่ีประกาศน้ันได้ปิดไว้หรือการแจ้งโดย วิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรนั้นได้ทําหรือได้ตั้งต้นแล้ว

               เมื่อได้แจ้งการยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินหรือพนักงานเจ้าหน้าท่ีผู้มี อํานาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นการยึดตามกฎหมาย
               มาตรา ๓๑๓ การยึดทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กระทําโดยดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑๒ โดยอนุโลม
               มาตรา ๓๑๔ การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นให้มีผลเป็นการยึดครอบ ไปถึงดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัยของทรัพย์นั้นด้วย
               การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นให้มีผลเป็นการยึดครอบไปถึง
               (๑) เครื่องอุปกรณ์และดอกผลนิตินัยของทรัพย์น้ัน
               (๒) ดอกผลธรรมดาของทรัพย์นั้นที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิเก็บเก่ียวเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งหรือปิดประกาศให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์นั้นทราบ ในขณะทําการยึดว่าได้ยึดดอกผลด้วยแล้ว
               มาตรา ๓๑๕ การยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นให้มีผลดังต่อไปนี้
               (๑) การที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึด ภายหลังที่ได้ทําการยึดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจํานวนหน้ีตามคําพิพากษากับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชา ธรรมเนียมในการบังคับคดี และลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้กระทําการดังกล่าวแก่ทรัพย์สินที่ถูกยึดเพียง ส่วนที่มีราคาเกินจํานวนนั้นก็ตาม
               (๒) ถ้าลูกหน้ีตามคําพิพากษาได้รับมอบให้เป็นผู้รักษาทรัพย์สินที่ถูกยึดลูกหนี้ตามคําพิพากษา ชอบที่จะใช้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตามสมควร แต่ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษา จะทําให้ทรัพย์สินนั้นเสียหายหรือเกรงว่าจะเสียหาย โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเองหรือเมื่อเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นร้องขอ เจ้าพนักงานบังคับคดี จะรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้รักษาทรัพย์สินนั้นก็ได้


ส่วนที่ ๔

การอายัดสิทธิเรียกร้อง

________________


               มาตรา ๓๑๖ การอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอก ชําระเงินหรือส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินก็ดี หรือที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชําระหนี้อย่างอื่นนอกจากการชําระเงิน หรือการส่งมอบหรือการโอนทรัพย์สินก็ดี ให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดยมีคําสั่งอายัด และ แจ้งคําสั่งนั้นให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและบุคคลภายนอกทราบ

               คําสั่งอายัดตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อห้ามลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ให้จําหน่ายสิทธิเรียกร้องและ มีข้อห้ามบุคคลภายนอกไม่ให้ปฏิบัติการชําระหนี้นั้นแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา แต่ให้ชําระเงินหรือส่งมอบ หรือโอนทรัพย์สินหรือชําระหนี้อย่างอื่นให้แก่ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือบุคคลอ่ืน หรือให้ดําเนินการ โดยวิธีอื่นใดตามที่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร ณ เวลาหรือภายในเวลา หรือเงื่อนไขตามท่ี กําหนดให้ แล้วแต่กรณี
               คําสั่งอายัดนั้นให้บังคับได้ไม่ว่าท่ีใด ๆ
               มาตรา ๓๑๗ การอายัดตามมาตรา ๓๑๖ อาจกระทําได้ไม่ว่าหนี้ท่ีเรียกร้องนั้นจะมี ข้อโต้แย้ง ข้อจํากัด เงื่อนไข หรือว่าได้กําหนดจํานวนไว้แน่นอนหรือไม่ก็ตาม
               มาตรา ๓๑๘ การอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีสิทธิได้รับชําระหนี้ เป็นคราว ๆ ให้มีผลเป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีสิทธิได้รับชําระหนี้ภายหลัง การอายัดนั้นด้วย
               มาตรา ๓๑๙ การอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีจํานองหรือจํานํา เป็นประกัน ให้มีผลรวมตลอดถึงการจํานองหรือการจํานํานั้นด้วย ถ้าทรัพย์สินที่จํานองนั้นมีทะเบียน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคําสั่งอายัดไปยังผู้มีอํานาจหน้าที่เพื่อให้จดแจ้งไว้ในทะเบียน
               ในกรณีผู้จํานองหรือผู้จํานํามิใช่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง เมื่อได้ดําเนินการอายัดแล้ว ให้แจ้ง ผู้จํานองหรือผู้จํานําเพื่อทราบด้วย
               มาตรา ๓๒๐ การอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นให้มีผลดังต่อไปนี้
               (๑) การที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลภายนอกเหนือสิทธิเรียกร้องที่ได้ถูกอายัด โอน เปลี่ยนแปลง หรือระงับซ่ึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายหลังท่ีได้ทําการอายัดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยัน แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ถึงแม้ว่าราคาแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นจะเกินกว่า จํานวนหนี้ตามคําพิพากษากับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี และลูกหนี้ตาม คําพิพากษาได้กระทําการดังกล่าวแก่สิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดเพียงส่วนที่มีราคาเกินจํานวนน้ันก็ตาม
               ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้จํานองหรือผู้จํานําซึ่งมิใช่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตาม มาตรา ๓๑๙ วรรคสอง หากผู้จํานองหรือผู้จํานําพิสูจน์ได้ว่าความระงับสิ้นไปแห่งการจํานองหรือ การจํานําเกิดขึ้นโดยผู้จํานองหรือผู้จํานํากระทําการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการแจ้งการอายัด ไปยังผู้จํานองหรือผู้จํานําเพื่อทราบ
               (๒) ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะความผิดของเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา เพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น
               (๓) การชําระหนี้โดยบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในคําสั่งอายัดนั้นให้ถือว่าเป็นการชําระหนี้ตาม กฎหมาย
 

ส่วนที่ ๕

การขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง

__________________________________________


               มาตรา ๓๒๑ ถ้าบุคคลภายนอกไม่ชําระหนี้ตามคําสั่งอายัดของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามมาตรา ๓๑๖ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องต่อศาลให้บังคับบุคคลภายนอกนั้นปฏิบัติการชําระหนี้ตามที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งหรือชําระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชําระหนี้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ เมื่อศาล ทําการไต่สวนแล้วถ้าเป็นที่พอใจว่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นมีอยู่จริงและอาจบังคับได้ จะมีคําสั่งให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชําระหนี้ตามท่ีเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งหรือให้ชําระค่าสินไหมทดแทน ตามจํานวนที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าบุคคลภายนอกนั้นมิได้ปฏิบัติตามคําสั่งของศาล เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา อาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาก็ได้


ส่วนท่ี ๖

สิทธิของบุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี

_______________________________________________


               มาตรา ๓๒๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๒๓ และมาตรา ๓๒๔ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งบุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินหรืออาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้น ตามกฎหมาย
               มาตรา ๓๒๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๕ บุคคลใดกล่าวอ้างว่าจําเลยหรือลูกหน้ีตาม คําพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือตนเป็นเจ้าของรวมซ่ึงมีกรรมสิทธ์ิ หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด หรือตน เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์แบ่งได้ หรือตนเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้ จดทะเบียนสิทธิของตนในทรัพย์สินนั้นได้อยู่ก่อน บุคคลนั้นอาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินน้ันทั้งหมดหรือ บางส่วนหรือเฉพาะส่วนของตน แล้วแต่กรณี โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินน้ัน แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคําร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลน้ันจะย่ืน คําร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและได้ยื่นคําร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดไว้เพ่ือการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น เป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย บุคคลนั้นจะยื่นคําร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อน ขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น

               ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินตามมาตรา ๓๓๒ ผู้กล่าวอ้างอาจยื่นคําร้องขอต่อศาลภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคําร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้น จะยื่นคําร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตามมาตรา ๓๓๙ หรือก่อนที่บัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจํานวนเงินที่ขายทรัพย์สินนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา ๓๔๐ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินจํานวนสุทธิที่ได้จากการขายนั้นเป็นเสมือนทรัพย์สินที่ขอให้ปล่อย
               เมื่อศาลสั่งรับคําร้องขอไว้แล้ว ให้ส่งสําเนาคําร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา จําเลยหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษา และเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคําร้องขอเช่นว่านี้ ถ้าทรัพย์สินที่ยึดนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินตามมาตรา ๓๓๒ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไว้ ในระหว่างรอคําวินิจฉัยชี้ขาด และให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา
               โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องว่าคําร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิง การบังคับคดี เมื่อปรากฏพยานหลักฐานเบื้องต้นว่าคําร้องนั้นฟังได้ ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงิน หรือหาประกันต่อศาลตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชําระ ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับความเสียหายที่อาจได้รับจากการยื่นคําร้อง ขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนเงินหรือ ประกันที่วางไว้ต่อศาลดังกล่าว เมื่อศาลเห็นว่าไม่มีความจําเป็นต่อไป จะสั่งคืนหรือยกเลิกประกันนั้นก็ได้ คําสั่งของศาลตามวรรคนี้ให้เป็นที่สุด
               ในกรณีที่ศาลได้มีคําสั่งยกคําร้องขอที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ถ้าโจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคําร้องขอดังกล่าวเห็นว่าคําร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามา เพื่อประวิงการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคําสั่ง ยกคําร้องขอเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้กล่าวอ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้ว เห็นว่าคําร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้ผู้กล่าวอ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่ บุคคลนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               มาตรา ๓๒๔ บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับชําระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขาย ทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ โดยอาศัยอํานาจแห่งทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งบุคคลนั้นมีอยู่เหนือทรัพย์สิน หรืออาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตามกฎหมาย ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
               (๑) ในกรณีที่เป็นผู้รับจํานองทรัพย์สินหรือเป็นผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ จดทะเบียนไว้ บุคคลนั้นอาจยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายหรือ จําหน่าย ขอให้มีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
               (ก) ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองหลุด ขอให้เอาทรัพย์สินซึ่งจํานองนั้นหลุด ถ้าศาลมีคําสั่งอนุญาต การยึดทรัพย์ที่จํานองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว
               (ข) ในกรณีอื่น ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนําเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้น มาชําระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือ กฎหมายอื่น
               (๒) ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าทรัพย์สินซึ่งขายหรือจําหน่ายนั้นเป็นของเจ้าของรวม อันได้จดทะเบียนไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินส่วนของเจ้าของรวมอื่น นอกจากส่วนของลูกหนี้ตาม คําพิพากษาออกจากเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๔๐
               (๓) ในกรณีที่เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงซึ่งไม่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายหรือจําหน่าย บุคคลนั้น อาจยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้น ขอให้นําเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายมาชําระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นซึ่งไม่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินน้ัน
               (๔) ในกรณีอ่ืนนอกจากท่ีระบุไว้ใน (๑) (๒) และ (๓) ผู้ทรงสิทธินั้นอาจยื่นคําร้องขอต่อศาล ที่ออกหมายบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้น ขอให้ตนได้รับส่วนแบ่งใน เงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายหรือขอให้นําเงินดังกล่าวมาชําระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น
               มาตรา ๓๒๕ เม่ือได้แจ้งคําสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกตามมาตรา ๓๑๖ แล้ว บุคคลภายนอกนั้นอาจยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งอายัดต่อศาลได้ภายในสิบห้าวัน
               บุคคลผู้จะต้องเสียหายเพราะคําสั่งอายัดอาจยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งดังกล่าวได้ภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปน้ี ท้ังน้ี ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนบั แต่วันทราบคําส่ังอายัด
               (๑) ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นการให้ชําระเงิน ให้ยื่นคําร้องต่อศาลก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จ่ายเงินดังกล่าวทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
               (๒) ถ้าสิทธิเรียกร้องน้ันเป็นการให้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สิน ให้ยื่นคําร้องต่อศาลก่อนขายทอดตลาด หรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น
               (๓) ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นการให้ชําระหนี้อย่างอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) ให้ย่ืนคําร้องต่อศาล ก่อนที่บุคคลภายนอกจะปฏิบัติการชําระหนี้
               เมื่อศาลสั่งรับคําร้องคัดค้านตามวรรคหน่ึงหรือวรรคสองแล้ว ให้ส่งสําเนาคําร้องแก่เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และเจ้าพนักงานบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับ ตามคําสั่งอายัดไว้ในระหว่างรอคําวินิจฉัยชี้ขาด เมื่อศาลทําการไต่สวนแล้ว ถ้าเป็นที่พอใจว่าสิทธิ เรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นมีอยู่จริงและอาจบังคับได้ ก็ให้ยกคําร้องนั้นเสียและมีคําสั่งให้ บุคคลภายนอกปฏิบัติตามคําส่ังอายัด แต่ถ้าเป็นที่พอใจว่าคําร้องคัดค้านรับฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งถอนการอายัด สิทธิเรียกร้อง

               ในระหว่างการพิจารณาคําร้องคัดค้านตามวรรคสาม เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องว่า คําร้องคัดค้านนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงการบังคับคดี เมื่อปรากฏพยานหลักฐานเบื้องต้นว่า คําร้องนั้นฟังได้ ศาลมีอํานาจส่ังให้ผู้ร้องคัดค้านวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจํานวนและภายใน ระยะเวลาท่ีศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชําระเงินค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา สําหรับความเสียหายที่อาจได้รับจากการยื่นคําร้องคัดค้านนั้น ถ้าผู้ร้องคัดค้านไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคําร้องคัดค้าน ส่วนเงินหรือประกันท่ีวางไว้ต่อศาลดังกล่าว เมื่อศาลเห็นว่าไม่มี ความจําเป็นต่อไป จะสั่งคืนหรือยกเลิกประกันนั้นก็ได้
               ถ้าศาลได้มีคําสั่งให้บุคคลภายนอกปฏิบัติตามคําสั่งอายัด และบุคคลนั้นมิได้ปฏิบัติตามคําสั่งศาล เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกเสมือนหน่ึงว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ ตามคําพิพากษา
               ในกรณีที่คําร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงการบังคับคดี เจ้าหน้ีตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีศาลได้มีคําสั่งยกคําร้องคัดค้าน เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องคัดค้านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ ในกรณี เช่นว่านี้ ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้ว เห็นว่าคําร้องน้ันฟังได้ ให้ศาลมีคําส่ังให้ผู้ร้องคัดค้านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนท่ีศาลเห็นสมควร ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลนั้น เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา


ส่วนที่ ๗

การขอเฉลี่ยและการเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป

_________________________________


               มาตรา ๓๒๖ เมื่อมีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอย่างใดของลูกหนี้ตาม คําพิพากษาเพื่อเอาชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษารายหนึ่งแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอื่น ดําเนินการให้มีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้นซ้ําอีก แต่ให้มีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลที่ออก หมายบังคับคดี ขอให้มีคําสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สิน จากการยึดหรืออายัดนั้นได้ตามส่วนแห่งจํานวนหนี้ตามคําพิพากษา
               ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคําร้องเช่นว่านี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคําร้องไม่สามารถเอาชําระได้ จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               ถ้าเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรหรือกฎหมายอื่นที่จะสั่งยึดทรัพย์สินหรือ อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษา เพื่อบังคับชําระหนี้ที่ค้างชําระตามกฎหมายนั้น ๆ ได้เอง ได้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่งไว้ก่อนแล้ว ให้มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้โดยไม่อยู่ภายในบังคับ ของบทบัญญัติวรรคสอง แต่ถ้าเจ้าพนักงานดังกล่าวมิได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ย ได้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอื่น
               ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่น คําร้องเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อน สิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดหรือจําหน่ายได้ ในครั้งนั้น ๆ
               ในกรณีที่อายัดสิทธิเรียกร้อง ให้ยื่นคําร้องเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันชําระเงินหรือ วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งสิทธิเรียกร้องตามที่อายัดนั้นได้
               ในกรณีที่ยึดเงิน ให้ยื่นคําร้องเช่นว่านี้ก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันยึด
               เมื่อได้ส่งสําเนาคําร้องดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการจ่ายเงิน หรือทรัพย์สินตามคําบังคับตั้งแต่การขาย การจําหน่าย หรือการชําระเงินตามที่ได้อายัดในครั้งที่ขอเฉลี่ยนั้น แล้วแต่กรณี ไว้จนกว่าศาลจะได้มีคําวินิจฉัยชี้ขาด เมื่อศาลได้มีคําสั่งประการใดและส่งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทราบแล้ว ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามคําสั่งเช่นว่านั้น
               มาตรา ๓๒๗ ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคําบอกกล่าวถอน การบังคับคดีให้ผู้ยื่นคําร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา ๓๒๔ หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาต ตามมาตรา ๓๒๖ ทราบโดยไม่ชักช้า โดยบุคคลดังกล่าวอาจขอเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปจากเจ้าหนี้ ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง โดยยื่นคําร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่ วันส่งคําบอกกล่าวถึงบุคคลเช่นว่านั้น ถ้ามีผู้ยื่นคําร้องภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ขอ ดําเนินการบังคับคดีต่อไป ถ้าไม่มีผู้ยื่นคําร้องภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอน การยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น
               ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําร้องหลายคน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายเรียกให้ผู้ยื่นคําร้องทุกคน มาทําความตกลงกัน เลือกคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไป แต่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามวัน ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ให้ผู้ยื่นคําร้องซึ่งมาตามหมายเรียกและมีจํานวนหนี้มากที่สุดเป็น ผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไป ถ้าผู้ยื่นคําร้องดังกล่าวมีจํานวนหนี้มากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ผู้ยื่นคําร้องซึ่งมีหนี้ รายเก่าที่สุดเป็นผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป ในกรณีที่ผู้ยื่นคําร้องรายใดไม่มาตามหมายเรียกให้ถือว่า ผู้ยื่นคําร้องรายนั้นสละสิทธิที่จะเป็นผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป

               ในกรณีที่มีการเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป ให้ถือว่าผู้ขอเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป เป็นเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง และให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีในคดีที่มีการถอน การบังคับคดีเป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปจะขอให้บังคับคดี แก่ทรัพย์สินท่ีถูกบังคับคดีไว้เดิมแต่เพียงบางส่วน ซึ่งเพียงพอแก่การชําระหนี้ของบรรดาเจ้าหนี้ตามวรรคหนึ่ง พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้ยื่นคําร้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตตามคําร้องหรือมีคําสั่งอย่างหน่ึงอย่างใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรโดยคํานึงถึง ส่วนได้เสียของบรรดาเจ้าหนี้ตามวรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปอาจร้องคัดค้านคําสั่ง ของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี
               สําหรับเจ้าหน้ีผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องที่มีการถอนการบังคับคดีน้ัน
               (๑) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีเพราะตนได้สละสิทธิในการบังคับคดีตามมาตรา ๒๙๒ (๖) ไม่มีสิทธิได้รับส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินในการบังคับคดี
               (๒) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีตามมาตรา ๒๙๒ (๔) แต่ยังมีหนี้ตามคําพิพากษาอยู่ อาจยื่นคําร้องต่อศาลขอให้มีคําสั่งให้ตนได้รับชําระจากเงินท่ีเหลือภายหลังที่ได้ชําระให้แก่เจ้าหน้ีผู้ขอเฉล่ียแล้ว ในฐานะเดียวกันกับผู้ยื่นคําร้องตาม มาตรา

๓๒๙ (๑)
               (๓) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีเพราะหมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอนหรือในกรณีอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) แต่ยังมีหน้ีตามคําพิพากษาอยู่ อาจย่ืนคําร้องต่อศาลขอให้มีคําสั่งให้ตนมีสิทธิได้รับส่วนเฉลี่ย ในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินในการบังคับคดีครั้งนี้ ก่อนการจ่ายเงินตาม มาตรา ๓๓๙ หรือก่อนส่งคําบอกกลา่ วตามมาตรา ๓๔๐ (๓) แล้วแต่กรณี
               มาตรา ๓๒๘ เจ้าหนี้ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ อาจยื่นคําร้องต่อศาล ที่มีอํานาจในการบังคับคดีให้โอนการบังคับคดีไปยังศาลที่พิพากษาคดีซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ และเมื่อได้พิจารณาคําร้องดังกล่าวแล้ว ถ้าศาลท่ีมีอํานาจในการบังคับคดีเห็นว่าการบังคับคดีในศาลที่จะ รับโอนการบังคับคดีจะเป็นการสะดวกแก่ทุกฝ่ายและได้รับความยินยอมของศาลที่จะรับโอนแล้ว ให้ศาล มีคําสั่งอนุญาตให้โอนการบังคับคดีไปได้ คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
               ในกรณีที่มีการโอนการบังคับคดีตามวรรคหน่ึง ให้ถือว่าศาลท่ีรับโอนเป็นศาลตามมาตรา ๒๗๑ วรรคหนึ่ง
               มาตรา ๓๒๙ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ยื่นคําร้องขอเฉลี่ยภายในกําหนดเวลาตาม มาตรา ๓๒๖ หรือศาลได้ยกคําร้องขอเฉลี่ยเพราะเหตุที่ยื่นไม่ทันกําหนดเวลาดังกล่าว เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษานั้นอาจย่ืนคําร้องต่อศาลเพ่ือขอให้ศาลมีคําสั่งอย่างหน่ึงอย่างใดดังต่อไปนี้
               (๑) ให้ตนมีสิทธิได้รับชําระจากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชําระให้แก่เจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรือ อายัดสิทธิเรียกร้องนั้นและเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยตามมาตรา ๓๒๖ หรือมาตรา ๓๒๗ แล้วแต่กรณี

               (๒) ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี และไม่มีเจ้าหนี้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ ให้ถือว่าตนเป็นเจ้าหนี้ผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไปจากเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิ เรียกร้องที่มีการถอนการบังคับคดีตั้งแต่วนั ที่มีการถอนการบังคับคดี
               คําร้องตาม (๑) ให้ยื่นก่อนการจ่ายเงินตามมาตรา ๓๓๙ หรือก่อนส่งคําบอกกล่าวตามมาตรา ๓๔๐ (๓) แล้วแต่กรณี
               คําร้องตาม (๒) ให้ยื่นก่อนมีการถอนการบังคับคดี
               ในกรณีที่มีผู้ย่ืนคําร้องตาม (๒) ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๒๗ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้ามีผู้ยื่นคําร้องตาม (๒) หลายคน ให้ถือว่าผู้ย่ืนคําร้องรายอื่นนอกจากผู้ย่ืนคําร้อง ซึ่งได้รับเลือกหรือกฎหมายกําหนดให้เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไป และเจ้าหนี้ซึ่งมิได้ยื่นคําร้องขอเข้า ดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ เป็นเจ้าหน้ีที่มีสิทธิได้รับชําระหน้ีจากทรัพย์สินหรือเงินที่ได้ จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินในคดีนั้นด้วย
               มาตรา ๓๓๐ คําสั่งของศาลตามมาตรา ๓๒๗ วรรคสามและวรรคสี่ และมาตรา ๓๒๙ ให้เป็นที่สุด


ส่วนที่ ๘

การขายหรือจําหน่าย

_______________


               มาตรา ๓๓๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๓๒ และมาตรา ๓๓๖ เมื่อได้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิ เรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือได้มีการส่งมอบทรัพย์สินตามสิทธิเรียกร้อง ที่ถูกอายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ถ้าไม่มีเหตุสมควรงดการบังคับคดีไว้ก่อน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้นหรือตามที่ศาลมีคําสั่งกําหนด หรือขายโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง
               ก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้ง กําหนดวัน เวลา และสถานที่ซึ่งจะทําการขายทอดตลาดให้บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ซึ่งปรากฏตามทะเบียนหรือประการอื่นได้ทราบด้วย โดยจะทําการขายทอดตลาดในวันหยุดงานหรือ ในเวลาใด ๆ นอกเวลาทําการปกติก็ได้ ทั้งนี้ กําหนดวันและเวลาขายดังกล่าวจะต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวัน นับแต่วันยึด อายัด หรือส่งมอบทรัพย์สินนั้น

               เพื่อให้การขายทอดตลาดเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีมีสิทธิ เต็มที่ในการเข้าสู้ราคาเองหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาเพื่อให้ได้ราคาตามที่ตนต้องการ และเมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดแล้ว ห้ามมิให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ทั้งหลายหยิบยกเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดมีจํานวนต่ําเกินสมควรมาเป็นเหตุขอให้มีการเพิกถอน การขายทอดตลาดนั้นอีก
               มาตรา ๓๓๒ ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่จะขายหรือจําหน่ายมีสภาพเป็นของสด ของเสียได้ หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายหรือจําหน่ายได้ทันทีโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่น ที่สมควร
               ในกรณีที่การขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินที่ถูกยึดหรือที่ได้มีการส่งมอบตามคําสั่งอายัดกระทําได้ โดยยาก หรือการขายหรือจําหน่ายสิทธิเรียกร้องนั้นกระทําได้โดยยากเนื่องจากการชําระหนี้นั้นต้องอาศัย การชําระหนี้ตอบแทนหรือด้วยเหตุอื่นใด และการบังคับคดีอาจล่าช้าเป็นการเสียหายแก่คู่ความทุกฝ่ายหรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรหรือคู่ความหรือบุคคล เช่นว่านั้นร้องขอ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคําสั่งกําหนดให้จําหน่ายโดยวิธีการอื่นใดที่สมควรก็ได้ ทั้งนี้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านคําสั่งหรือการดําเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยยื่นคําร้อง ต่อศาลภายในสองวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งหรือการดําเนินการนั้น คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด
               มาตรา ๓๓๓ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้
               (๑) ในการขายทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกันไป แต่
               (ก) เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจจัดสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาเล็กน้อยรวมขายเป็นกองๆ ได้เสมอ
               (ข) เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจจัดสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไปรวมขายไปด้วยกันได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น

               (๒) ในการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจแบ่งแยกออกได้เป็นส่วน ๆ เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอํานาจขายทรัพย์สินนั้นเป็นส่วน ๆ ได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายทรัพย์สินบางส่วนจะเพียงพอแก่การบังคับคดี หรือว่าเงินรายได้ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
               (๓) ในการขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจกําหนดลําดับที่จะขายทรัพย์สินนั้น

               บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินซึ่งจะต้องขาย อาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวม หรือแยกทรัพย์สิน หรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลําดับที่กําหนดไว้ หรือจะร้องคัดค้านคําสั่งของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งตามวรรคหนึ่งก็ได้ การยื่นคําร้องตามมาตรานี้ต้องกระทําก่อนวันทําการขายทอดตลาด แต่ต้องไม่ช้ากว่าสามวันนับแต่ทราบวิธีการขาย ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคําร้องขอ หรือคําคัดค้านเช่นว่าน้ัน ผู้ร้องจะยื่นคําร้องต่อศาลภายในสองวันนับแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคําสั่งช้ีขาด ในเร่ืองนั้นก็ได้ คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายไปจนกว่าศาลจะได้มี คําสั่ง หรือจนกว่าจะได้พ้นระยะเวลาซึ่งให้นําเรื่องขึ้นสู่ศาลได้
               มาตรา ๓๓๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สิน ที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไป จากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๗๑ มาตรา ๒๗๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕๑ มาตรา ๓๕๒ มาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง มาตรา ๓๕๔ มาตรา ๓๖๑ มาตรา ๓๖๒ มาตรา ๓๖๓ และมาตรา ๓๖๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือ บริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว
               มาตรา ๓๓๕ เมื่อทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีกฎหมายกําหนดไว้ให้จดทะเบียน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตาม กฎหมายให้ดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อ
               ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ก่อนทําการขาย ทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายท่ีต้องชําระ เพื่อการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําบอกกล่าว เมื่อขายทอดตลาดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินท่ีได้จาก การขายทอดตลาดไว้เพื่อชําระหนี้ที่ค้างชําระดังกล่าวจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุดก่อน เจ้าหนี้จํานอง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรอง การปลอดหนี้
               หากนิติบุคคลอาคารชุดไม่แจ้งรายการหน้ีท่ีค้างชําระดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน กําหนดเวลาตามวรรคสองหรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชําระ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้

               ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นที่ดินจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ก่อนทําการขาย ทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแจ้งรายการหนี้ค่าบํารุงรักษาและ การจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําบอกกล่าว เมื่อขายทอดตลาดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชําระหนี้ที่ค้างชําระดังกล่าวจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรก่อนเจ้าหนี้จํานอง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้ หากมี การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไว้ ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอัน ยกเลิกไป
               หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้างชําระดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายในกําหนดเวลาตามวรรคสี่หรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชําระ หรือในกรณีที่ยังมิได้จัดตั้งนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้ หากมีการระงับการจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมไว้ ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอันยกเลิกไป
               การจ่ายเงินที่กันไว้ตามวรรคสองและวรรคสี่ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนที่ ๑๐ การทําบัญชี ส่วนเฉลี่ย และส่วนที่ ๑๑ เงินค้างจ่าย ของหมวดนี้


ส่วนที่ ๙

การตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการขายหรือจําหน่าย

______________________________________________________


               มาตรา ๓๓๖ ถ้ารายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม หรือการประกอบกิจการอื่นใดของลูกหนี้ตามคําพิพากษาอาจเพียงพอที่จะชําระหนี้ตาม คําพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียม และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ภายในเวลาอันสมควร เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาร้องขอ และไม่มีข้อเท็จจริงว่าจะเป็นการประวิง การชําระหนี้ ศาลอาจมีคําสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือผู้จัดการกิจการเหล่านั้น โดยมอบเงินรายได้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาและเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกําหนดแทน การขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้


ส่วนที่ ๑๐

การทําบัญชีส่วนเฉลี่ย

________________


               มาตรา ๓๓๗ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําบัญชีรายละเอียดแสดงจํานวนเงินทั้งหมดที่ได้มา จากการยึด อายัด ขาย หรือจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือที่ได้วางไว้แก่ตน นอกจากนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําบัญชีพิเศษสําหรับจํานวนเงินที่ได้มาจากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินแต่ละรายซึ่งอยู่ในบังคับแห่งทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งได้มีการแจ้ง ให้ทราบหรือปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วตามมาตรา ๓๒๔
               ถ้าประมวลกฎหมายน้ีหรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี จัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ยเงินตามวรรคหนึ่งดังบัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้
               มาตรา ๓๓๘ ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งซึ่งได้พิพากษาหรือสั่งโดย จําเลยขาดนัดนั้น ห้ามมิให้จัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ยเงินที่ได้มาจนกว่าระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันยึดทรัพย์สิน หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะแสดง ให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบถึงการที่ถูกฟ้องนั้นแล้ว
               มาตรา ๓๓๙ ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาคนเดียวร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและไม่มีกรณีตามมาตรา ๓๒๔ เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่น ซึ่งทรัพย์สินนั้นเสร็จและได้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงิน ตามจํานวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมตามคําพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเท่าที่เงินรายได้จํานวนสุทธิ จะพอแก่การที่จะจ่ายให้ได้
               มาตรา ๓๔๐ ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหลายคนร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือในกรณีตามมาตรา ๓๒๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดหรือ จําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ให้ดําเนินการดังนี้
               (๑) หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้ แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นของเจ้าของรวม ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีกันเงินส่วนของเจ้าของรวมอื่นนอกจากส่วนของลูกหนี้ตามคําพิพากษาออกจากเงินที่ได้จากการขาย หรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นเสียก่อน แล้วจึงหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีจากเงินเฉพาะส่วนของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               (๒) จัดทําบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจํานวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ทรงสิทธิ เหนือทรัพย์สินนั้นแต่ละคนจากเงินจํานวนสุทธิที่พอแก่การที่จะจ่ายให้ตามสิทธิของบุคคลเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นโดยให้แสดง จํานวนเงินที่กันส่วนให้แก่เจ้าของรวมไว้ในบัญชีดังกล่าวด้วย
               (๓) ส่งคําบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษา เจ้าของรวม และบุคคลตาม (๒) ขอให้ ตรวจสอบบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้นและให้ยื่นคําแถลงคัดค้านได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันส่งคําบอกกล่าว
               ถ้าไม่มีคําแถลงคัดค้านภายในกําหนดเวลาตาม (๓) ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยดังกล่าวเป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่บุคคลตามบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น

               มาตรา ๓๔๑ ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําแถลงคัดค้านตามมาตรา ๓๔๐ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ออกหมายเรียกเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทุกคน ผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น เจ้าของรวม และลูกหนี้ตาม คําพิพากษา มาชี้แจงในเวลาและ ณ สถานที่ท่ีกําหนด โดยต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน บุคคลดังกล่าวจะไปตามหมายเรียกด้วยตนเองหรือจะมอบให้ผู้รับมอบอํานาจไปกระทําการแทนก็ได้
               เมื่อได้ตรวจพิจารณาคําแถลงคัดค้านและได้ฟังคําชี้แจงของผู้ซึ่งมาตามหมายเรียกแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทําคําสั่งยืนตามหรือแก้ไขบัญชีส่วนเฉลี่ยน้ันแล้วอ่านคําสั่งดังกล่าวให้ผู้ซึ่งมาตามหมายเรียกฟัง และให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้
               ในกรณีที่ไม่อาจทําคําสั่งได้ภายในวันที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซึ่งมาตาม หมายเรียกหรือตามนัดทราบวันนัดฟังคําสั่งที่เลื่อนไปและให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้
               ถ้าบุคคลตามวรรคหน่ึงมิได้ไปตามหมายเรียกหรือตามนัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ถือว่า ได้ทราบวันนัดและคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว
               มาตรา ๓๔๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งยืนตามบัญชีส่วนเฉลี่ย ผู้ซึ่งได้ยื่นคําแถลง คัดค้านตามมาตรา ๓๔๐ อาจยื่นคําร้องคัดค้านคําส่ังดังกล่าวต่อศาลได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันท่ีได้อ่าน คําสั่ง
               ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งแก้ไขบัญชีส่วนเฉลี่ย บุคคลตามมาตรา ๓๔๑ อาจยื่นคําร้อง คัดค้านคําสั่งดังกล่าวต่อศาลได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้อ่านคําสั่ง
               ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําร้องคัดค้านตามวรรคหน่ึงหรือวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเล่ือนการจ่าย ส่วนเฉลี่ยไปก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งหรือทําการจ่ายส่วนเฉลี่ยชั่วคราวตามมาตรา ๓๔๓
               ถ้าไม่มีผู้ยื่นคําร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้นเป็นที่สุด และให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่บุคคลตามบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น
               คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
               มาตรา ๓๔๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า ถ้าจะเลื่อนการจ่ายส่วนเฉลี่ยไปจนกว่า ได้จําหน่ายทรัพย์สินที่ประสงค์จะบังคับท้ังหมดหรือจนกว่าการเรียกร้องท้ังหมดท่ีมาสู่ศาลได้เสร็จเด็ดขาดแล้ว จะทําให้บุคคลผู้มีส่วนเฉลี่ยในเงินรายได้แห่งทรัพย์สินที่บังคับนั้นทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งได้รับความเสียหาย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิท่ีจะแบ่งเงินรายได้เท่าที่พอแก่การท่ีจะจ่ายให้ดังท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔๐ มาตรา ๓๔๑ และมาตรา ๓๔๒ ได้ ในเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กันเงินไว้สําหรับชําระค่าฤชาธรรมเนียม ในการบังคับคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นต่อไป และสําหรับชําระการเรียกร้องใด ๆ ที่ยังมีข้อโต้แย้ง ไว้แล้ว

               มาตรา ๓๔๔ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนได้รับส่วนแบ่งเป็นที่พอใจแล้ว ถ้ายัง มีเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินเหลืออยู่หลังจากที่ได้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว และเงินเช่นว่านั้นอยู่ในบังคับที่จะต้องจ่ายแก่เจ้าหน้ีตามคําพิพากษาตามมาตรา ๓๒๙ หรือถูกอายัดโดย ประการอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินส่วนที่เหลือนั้นตามมาตรา ๓๒๙ หรือตามคําสั่งอายัดสิทธิ เรียกร้อง แล้วแต่กรณี
               ถ้าเงินรายได้จํานวนสุทธิที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไม่ต้องการใช้สําหรับ การบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินเหลืออยู่หลังจากที่ได้หักชําระ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นท่ีพอใจแล้วก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี จ่ายเงินรายได้จํานวนสุทธิหรือส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และถ้าทรัพย์สินของ บุคคลภายนอกต้องถูกจําหน่ายไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้จ่ายเงินรายได้จํานวนสุทธิ หรือส่วนที่เหลืออยู่แก่บุคคลภายนอกนั้น
               ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินรายใดตามมาตรา ๓๒๓ ไปแล้ว และได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดเป็นคุณ แก่ผู้เรียกร้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายแก่ผู้เรียกร้องไป


ส่วนที่ ๑๑

เงินค้างจ่าย

_________


               มาตรา ๓๔๕ บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิ มิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน


หมวด ๓

การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง

________________________________________


               มาตรา ๓๔๖ การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ถ้าบทบัญญัติในหมวดนี้มิได้ กําหนดวิธีการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติในหมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา ๓๔๗ ในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาส่งคืน ทรัพย์เฉพาะสิ่งแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งเพื่อชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแก่ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจยึดทรัพย์นั้นเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตาม คําพิพากษาหรือคําสั่ง

               ถ้าทรัพย์เฉพาะสิ่งของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่ต้องส่งมอบแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อชําระหนี้ ตามสิทธิเรียกร้องได้ถูกยึดหรืออายัดไว้เพื่อเอาชําระหนี้เงินในคดีอื่นแล้ว เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะยื่น คําร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีก่อนมีการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นขอให้มีคําสั่งให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบทรัพย์นั้นให้แก่ตน โดยต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์ในคดีอื่นนั้นสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตาม คําพิพากษาได้เพียงพอ ทั้งนี้ ให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบและอาจมีคําสั่งงดการบังคับคดีไว้ ในระหว่างพิจารณาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการยึด หรืออายัดทรัพย์แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์ในคดีอื่นนั้น และให้เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาในคดีอื่นนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
               ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่สามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ตามวรรคสอง ให้ศาลมีคําสั่ง ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คําพิพากษาในคดีอื่นนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นํามาตรา ๓๒๖ และมาตรา ๓๒๙ มาใช้บังคับ
               มาตรา ๓๔๘ การบังคับคดีในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบ ทรัพย์เฉพาะสิ่งที่มีทะเบียนกรรมสิทธิ์หรือมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนดําเนินการจดทะเบียนต่อไป
               การบังคับคดีในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะสิ่ง ถ้ามีเหตุขัดขวางหรือเหตุขัดข้องในการส่งคืนหรือส่งมอบอสังหาริมทรัพย์นั้นแก่เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษา ให้นําบทบัญญัติในหมวด ๔ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา ๓๔๙ การบังคับคดีที่ขอให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
               ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีที่เจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาต้องเสียไปในคดีที่มีคําพิพากษาให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต้องเสียไปในคดีอื่นตามมาตรา ๓๔๗ วรรคสอง โดยให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีที่ต้องใช้แทนแก่เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาในคดีที่มีคําพิพากษาให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้น


หมวด ๔

การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่

_______________________


               มาตรา ๓๕๐ การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ขับไล่ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการตามมาตรา ๓๕๑ มาตรา ๓๕๒ มาตรา ๓๕๓ และมาตรา ๓๕๔

               การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ ครอบครอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามมาตรา ๓๕๕


ส่วนที่ ๑

การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

_________________________


               มาตรา ๓๕๑ ในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาออกไปจาก อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง
               (๑) ถ้าทรัพย์นั้นไม่มีบุคคลใดอยู่แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามมาตรา ๓๕๒
               (๒) ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวารไม่ออกไปจากทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการตามมาตรา ๓๕๓
               มาตรา ๓๕๒ ในกรณีตามมาตรา ๓๕๑ (๑) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจส่งมอบทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือบางส่วนให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเข้าครอบครองได้ทันที ถ้ามีสิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคต่อ การส่งมอบ ให้เจ้าพนกั งานบังคับคดีมีอํานาจทําลายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ตามความจําเป็น
               ถ้ายังมีสิ่งของของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือของบุคคลใดอยู่ในทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทําบัญชีสิ่งของนั้นไว้ และมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้
               (๑) ถ้าสิ่งของนั้นมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ หรือมีสภาพอันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือ ถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของสิ่งของนั้น ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอํานาจจําหน่ายสิ่งของนั้นได้ทันทีโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่เห็นสมควร และเก็บรักษา เงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้แทนส่ิงของน้ัน หรือทําลายสิ่งของน้ัน หรือดําเนินการอ่ืนใดตามที่ เห็นสมควรก็ได้ ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสภาพแห่งสิ่งของ ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย และประโยชน์สาธารณะ
               (๒) ถ้าส่ิงของนั้นมิใช่ส่ิงของตามท่ีระบุไว้ใน (๑) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจนําสิ่งของนั้น มาเก็บรักษาไว้ หรือมอบให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้รักษา หรือฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใด ตามที่เห็นสมควร แล้วแจ้งหรือประกาศให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของมารับคืนไปภายในเวลา ท่ีเจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ถ้าลูกหน้ีตามคําพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของไม่มารับหรือไม่ยอมรับสิ่งของนั้น คืนไปภายในเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตาม (๑) โดยอนุโลม
               เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้มาจากการจําหน่ายสิ่งของตามวรรคสอง (๑) หรือ (๒) ถ้าลูกหนี้ ตามคําพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของไม่มาขอรับคืนภายในกําหนดห้าปีนับแต่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงาน บังคับคดี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

               ในกรณีที่สิ่งของตามวรรคสองถูกยึด อายัด หรือห้ามโอน ยักย้าย หรือจําหน่ายตามวิธีการชั่วคราว ก่อนพิพากษาหรือเพื่อการบังคับคดีในคดีอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจย้ายสิ่งของดังกล่าวไปเก็บไว้ ณ สถานที่อื่นได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ในคดีอื่นทราบด้วย
               ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดําเนินการตามมาตรานี้ และให้ถือว่า เป็นหนี้ตามคําพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป
               มาตรา ๓๕๓ ในกรณีตามมาตรา ๓๕๑ (๒) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้
               (๑) รายงานต่อศาลเพื่อมีคําสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวาร และให้ศาล มีอํานาจสั่งจับกุมและกักขังได้ทันที ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๖๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               (๒) ปิดประกาศให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้นซึ่งอ้างว่ามิได้เป็นบริวารของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ยื่นคําร้องต่อศาลภายในกําหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศแสดงว่าตน มีอํานาจพิเศษในการอยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้น
               เมื่อมีการจับกุมลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวารตาม (๑) แล้ว หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าว หลบหนีไปจากทรัพย์นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามมาตรา ๓๕๒
               มาตรา ๓๕๔ เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๑ ให้ถือว่าบุคคล ดังต่อไปนี้เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
               (๑) บุคคลที่อยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้นและมิได้ยื่นคําร้องต่อศาลภายในกําหนดเวลา ตามมาตรา ๓๕๓ (๒) หรือยื่นคําร้องต่อศาลแล้วแต่แสดงต่อศาลไม่ได้ว่าตนมีอํานาจพิเศษในการอยู่อาศัย หรือครอบครองทรัพย์นั้น
               (๒) บุคคลที่เข้ามาอยู่ในทรัพย์นั้นในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการให้เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์นั้น


ส่วนที่ ๒

การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

______________________________


               มาตรา ๓๕๕ ในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจดําเนินการรื้อถอน และขนย้ายทรัพย์สินออกจาก ทรัพย์นั้นได้โดยให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น และให้ถือว่า เป็นหนี้ตามคําพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป

               กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกําหนดการรื้อถอนหรือขนย้าย ทรัพย์สิน ไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ความระมัดระวัง ตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น
               ในการจัดการกับวัสดุที่ถูกรื้อถอนและทรัพย์สินที่ถูกขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครองนั้น ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม


หมวด ๕

การบังคับคดีในกรณีที่ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ

____________________________


               มาตรา ๓๕๖ การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษากระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดนอกจากกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่ง ของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือให้ขับไล่ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง และหมวด ๔ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ ให้ศาลมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ส่วนที่ ๑ หรือส่วนที่ ๒ แห่งหมวดนี้ เว้นแต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าวิธีการบังคับคดีดังกล่าวไม่อาจบรรลุผล ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลได้ ก็ให้ศาลมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่ศาลเห็นสมควรเท่าที่ สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้กระทําได้


ส่วนที่ ๑

การบังคับคดีในกรณีที่ให้กระทําการ

_________________________


               มาตรา ๓๕๗ การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษากระทํานิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจถือเอาคําพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ และคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลไม่ได้กําหนดให้ถือเอาคําพิพากษาแทน การแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคําพิพากษาไว้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจมีคําขอให้ศาลมีคําสั่งให้ถือเอา คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นได้
               ถ้าการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคําพิพากษาจะบริบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจมีคําขอให้ ศาลสั่งให้ดําเนินการจดทะเบียนให้ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้บุคคลดังกล่าวนั้นจดทะเบียนไปตามคําสั่งศาล

               ถ้าหนังสือสําคัญ เช่น โฉนดที่ดิน ใบจอง หนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใบทะเบียน หรือ เอกสารสิทธิที่จะต้องใช้เพื่อการจดทะเบียนสูญหาย บุบสลาย หรือนํามาไม่ได้เพราะเหตุอื่นใด ศาลจะส่ังให้ นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอํานาจหน้าท่ีตามกฎหมายออกใบแทนหนังสือสําคัญ ดังกล่าวก็ได้ เมื่อได้ออกใบแทนแล้ว หนังสือสําคัญเดิมเป็นอันยกเลิก
               มาตรา ๓๕๘ การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษากระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งไม่ใช่กรณีตามมาตรา ๓๕๗ นอกจากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา อาจมีคําขอตามมาตรา ๓๖๑ แล้ว ถ้าการกระทํานั้นเป็นกรณีที่อาจให้บุคคลภายนอกกระทําการแทนได้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจมีคําขอฝ่ายเดียวให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้บุคคลภายนอกกระทําการนั้นแทนลูกหนี้ ตามคําพิพากษา โดยลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
               ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในกรณีขอให้บุคคลภายนอกกระทําการแทนตามวรรคหน่ึง ให้ถือว่าเป็นหน้ี ตามคําพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป


ส่วนที่ ๒

การบังคับคดีในกรณีที่ให้งดเว้นกระทําการ


               มาตรา ๓๕๙ การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษางดเว้นกระทําการ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจขอให้ศาลมีคําสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตาม คําพิพากษาตามมาตรา ๓๖๑ และขอให้ศาลมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ได้ด้วย
               (๑) ให้ลูกหน้ีตามคําพิพากษาชําระค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายอันเกิดจากการไม่งดเว้น กระทําการน้ัน
               (๒) รื้อถอนหรือทําลายทรัพย์สินอันเกิดจากการไม่งดเว้นกระทําการนั้นเว้นแต่ในกรณีที่ กฎหมายว่าด้วยการนั้นได้กําหนดวิธีการจัดการกับทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นอย่างอ่ืนแล้ว
               ในกรณีตาม (๑) เม่ือศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคําขอนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ตาม คําพิพากษาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนท่ีศาลเห็นสมควร
               ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งตาม (๒) ให้ศาลแจ้งคําสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ แล้วให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีดําเนินการให้เป็นไปตามคําส่ังศาล โดยลูกหน้ีตามคําพิพากษาเป็นผู้รับผิดในค่าใช้จ่าย
               การขอและการดําเนินการตามมาตรานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ส่วนค่าสินไหมทดแทน ที่ศาลกําหนดตามวรรคสองและค่าใช้จ่ายตามวรรคสาม ให้ถือว่าเป็นหนี้ตามคําพิพากษาที่จะบังคับคดีกัน ต่อไป
 

หมวด ๖

การบังคับคดีในกรณีได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มีทะเบียน

________________________


               มาตรา ๓๖๐ การบังคับคดีในกรณีที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หรือแสดงว่าเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาหรือบุคคลใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ทรัพยสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หากทรัพย์สินนั้น เป็นทรัพย์ที่มีทะเบียนและมีเหตุขัดข้องไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือบุคคลดังกล่าวอาจมีคําขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอํานาจหน้าที่ ตามกฎหมายดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้มีสิทธิมีชื่อในทะเบียนให้เป็นไปตามคําสั่งศาล
               ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๕๗ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม


หมวด ๗

การบังคับคดีในกรณีที่ขอให้ศาลสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษา

_____________________________


               มาตรา ๓๖๑ ภายใต้บังคับบทบัญญัติหมวด ๔ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ ในกรณี ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาจงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ และไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา จะใช้บังคับได้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจมีคําขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมีคําสั่งจับกุมและกักขังลูกหน้ี ตามคําพิพากษาก็ได้
               เมื่อได้รับคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาคําขอโดยเร็ว หากเป็นที่พอใจจากพยานหลักฐาน ซ่ึงเจ้าหน้ีตามคําพิพากษานํามาสืบหรือท่ีศาลเรียกมาสืบว่า ลูกหนี้ตามคําพิพากษาสามารถที่จะปฏิบัติ ตามคําบังคับได้ถ้าได้กระทําการโดยสุจริต และเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่จะใช้บังคับได้ ให้ศาลออกหมายจับลูกหน้ีตามคําพิพากษา
               ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษามาศาลหรือถูกจับตัวมา แต่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่อาจแสดงเหตุ อันสมควรในการท่ีไม่ปฏิบัติตามคําบังคับได้ ศาลมีอํานาจสั่งกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษาทันทีหรือในวันหน่ึง วันใดที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังคงขัดขืนอยู่ก็ได้ หากลูกหนี้ตามคําพิพากษาแสดงเหตุอันสมควรในการที่ ไม่ปฏิบัติตามคําบังคับได้ หรือตกลงที่จะปฏิบัตติ ามคําบังคับทุกประการ ศาลจะมีคําส่ังให้ยกคําขอ หรือมีคําส่ัง เป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้
               มาตรา ๓๖๒ เมื่อศาลได้ออกหมายจับลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามมาตรา ๓๖๑ แล้ว ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษามาศาลหรือถูกจับกุมตัวมา ให้ศาลมีอํานาจกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นไว้ ในระหว่างการพิจารณาคําขอจนกว่าจะมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้ตามท่ีศาลเห็นสมควร

               ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอํานาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือ ตามจํานวนเงินที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องผู้ทําสัญญาประกันเป็นคดีใหม่
               มาตรา ๓๖๓ ในกรณีที่ศาลสั่งกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลใดตามมาตรา ๓๕๓ หรือมาตรา ๓๖๑ บุคคลนั้นจะต้องถูกกักขังไว้จนกว่าจะมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควรกําหนดว่าตนยินยอมที่จะปฏิบัติตามคําบังคับทุกประการ แต่ทั้งนี้ ห้ามไม่ให้ กักขังแต่ละครั้งเกินกว่าหกเดือนนับแต่วันจับกุมหรือวันเริ่มกักขัง แล้วแต่กรณี
               ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๖๒ วรรคสอง มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
               มาตรา ๓๖๔ ในกรณีที่ศาลยอมรับบุคคลเป็นประกัน และบุคคลนั้นจงใจขัดขวางการบังคับคดี หรือร่วมกับลูกหนี้ตามคําพิพากษาขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๖๑ มาตรา ๓๖๒ และมาตรา ๓๖๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา ๓๖๕ การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหน้าที่ปฏิบัติตามคําสั่ง หรือหมายของศาล หรือตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
               การจับกุม ควบคุมตัว หรือกักขังบุคคลหนึ่งบุคคลใดตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสอง มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๓๕๓ มาตรา ๓๖๑ และมาตรา ๓๖๔ ไม่ตัดสิทธิที่จะดําเนินคดีในความผิดอาญา


หมวด ๘

การบังคับในกรณีมีการประกันในศาล

__________________________


               มาตรา ๓๖๖ ถ้าบุคคลใดได้เข้าเป็นผู้ประกันในศาลโดยทําเป็นหนังสือหรือโดยวิธีอื่น เพื่อการชําระ หนี้ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น คําพิพากษาหรือ คําสั่งเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับแก่การประกันได้ โดยให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับคดี แก่ผู้ประกันเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาโดยไม่ต้องฟ้องผู้ประกันเป็นคดีใหม่
               ให้นําบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่การประกันการปฏิบัติตามคําสั่งศาลในกรณีอื่นด้วย โดยอนุโลม
               มาตรา ๓๖๗ ในกรณีที่คู่ความหรือบุคคลใดนําเงิน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หนังสือประกัน ของธนาคาร หรือหลักประกันอย่างอื่นซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินแทนได้ มาวางต่อศาลตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้หรือตามคําสั่งของศาล เช่น คําสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหรือทุเลาการบังคับคดีในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในกรณีอื่นใด เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาในคดีนั้นชอบที่จะร้องขอ ต่อศาลให้สั่งจ่ายเงินหรือดําเนินการเรียกเงินมาจ่ายให้แก่ตนได้
               การขอและการดําเนินการตามมาตรานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล”
               มาตรา ๒๑ พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวน วิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทําไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
               ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศ ขายทอดตลาดไว้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศขายทอดตลาดดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
               มาตรา ๒๒ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง ที่ออกตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง ที่ออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
               มาตรา ๒๓ ให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี


==========================================================================


รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา ของศาล โดย ทีมงานนักสืบและทนายความผู้เชี่ยวชาญ


               รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา ของศาล โดย ทีมงานนักสืบและทนายความผู้เชี่ยวชาญ จาก บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด เป็นการสืบหาทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของลูกหนี้ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของลูกหนี้ ทั้งทรัพย์สินที่เป็น สังหาริมทรัพย์ เช่น เงินเดือน รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น  อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตลอดจน บัญชีเงินฝากธนาคาร ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องต่างๆ และดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ตามปกติแล้ว ( อ่านรายละเอียด )


====================================================================



          กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทร 081-9151522, 090-0700080  email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่ (คลิกที่นี่)




บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด 
725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

โทร. 081-9151522, 090-0700080            E-mail : skyinterlegal@gmail.com           Facebook : Skyinterlegal
Copyright 2011-2022 Sky International Legal Co.,Ltd. All rights reserved.
 
  
view