พระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
|
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ |
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิรับชําระหนี้อันเกิดจากการกระทําที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ ดังกล่าว ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอํานาจจาก ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย “ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า
(๑) บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือ
(๒) บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด
“สินเชื่อ” หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
“ธุรกิจทวงถามหนี้” หมายความว่า การรับจ้างทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทําแทนลูกความของตน
“ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้” หมายความว่า ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทํางานของลูกหนี้ และให้หมายความรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร และสถานที่ติดต่อโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้ด้วย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่ รับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง ตามการเสนอแนะของคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอํานาจและหน้าที่ของตน และให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยมีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๕ บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง บุคคลซึ่งจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องประกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด มาตรา ๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความหรือสํานักงานทนายความ ให้คณะกรรมการสภาทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความทําหน้าที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน โดยต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศตามมาตรา ๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความหรือสํานักงานทนายความ ให้คณะกรรมการ สภาทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความมีอํานาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนตามมาตรา ๓๗ ที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ ให้สภานายกพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยทนายความมีอํานาจวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งไม่รับจดทะเบียน ที่เป็นอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา ๓๑ หรือคําสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เป็นอํานาจของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ คําวินิจฉัยของสภานายกพิเศษให้เป็นที่สุด ทั้งนี้ให้นําระยะเวลาในการอุทธรณ์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้คณะกรรมการสภาทนายความมีอํานาจออกข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวข้องได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พระราชบัญญัตินี้ ข้อบังคับนั้นเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษตามกระบวนการในกฎหมายว่าด้วยทนายความ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการสภาทนายความและสภานายกพิเศษรายงานการดําเนินการของตน ตามมาตรา ๖ ให้คณะกรรมการเพื่อทราบเป็นประจําทุกสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าการดําเนินการของคณะกรรมการสภาทนายความ หรือสภานายกพิเศษตามมาตรา ๖ ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการแจ้งให้คณะกรรมการ สภาทนายความหรือสภานายกพิเศษเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๘ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคล ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว การติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถาม หรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น โดยผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ (๒) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อ ให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม (๓) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ในหนังสือ หรือในสื่ออ่ืนใดที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ ของลูกหนี้ (๔) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทําให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ มาตรา ๙ การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่ติดต่อ ในกรณีท่ีติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าว ไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าหรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อ ตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลําเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทํางานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด (๒) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลา ดังกล่าวได้หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด (๓) จํานวนครั้งที่ติดต่อในช่วงเวลาตาม(๒)ให้ติดต่อตามจํานวนครั้งที่เหมาะสมและคณะกรรมการ อาจประกาศกําหนดจํานวนครั้ง ด้วยก็ได้ (๔) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบ ธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจํานวนหน้ี และถ้าผู้รับมอบอํานาจ ดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดงหลักฐานการมอบอํานาจให้ทวงถามหนี้ด้วย มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ขอรับชําระหนี้ ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐาน การรับมอบอํานาจให้รับชําระหนี้จากเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ได้ชําระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชําระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย หากลูกหนี้ได้ชําระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือว่าเป็นการชําระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ทวงถามหนี้จะได้รับมอบอํานาจให้รับชําระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม มาตรา ๑๑ ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทําอื่นใดที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (๒) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น (๓) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๘ วรรคสอง (๒) (๔) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่า เป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจํานองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด (๕) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ในการติดต่อลูกหนี้ที่ทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหน้ี เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ ไม่ได้ส่ือให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหน้ี (๖) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
ความใน (๕) มิให้นํามาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล
มาตรา ๑๒ ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทําให้เกิดความเข้าใจผิดดังต่อไปนี้
(๑) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทําให้เข้าใจว่า เป็นการกระทําของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ
(๒) การแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทําโดยทนายความ สํานักงานทนายความ หรือสํานักงานกฎหมาย
(๓) การแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าจะถูกดําเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ หรือเงินเดือน
(๔) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดําเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต
มาตรา ๑๓ ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมดังต่อไปนี้
(๑) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
(๒) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชําระหนี้ได้
มาตรา ๑๔ ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการดังต่อไปนี้
(๑) ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๒) ทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอํานาจกระทําได้ตามกฎหมาย
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
หมวด ๒
การกํากับดูแลและตรวจสอบ
|
มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อํานวยการสํานักงาน เศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งจํานวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการของ กรมการปกครองสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านการเงินการธนาคาร ด้านกฎหมาย หรือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน โดยมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะแต่งตั้ง ให้อยู่ในตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ให้แต่งตั้ง จากผู้แทนองค์กรพัฒนาภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลการทวงถามหนี้ของผู้ทวงถามหนี้ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง (๑) ออกประกาศหรือคําสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ออกข้อบังคับกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการ ตามมาตรา ๒๗ และกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว (๓) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งให้ชําระค่าปรับทางปกครองและคําสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน การประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามมาตรา ๓๘ (๔) กําหนดหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบและระยะเวลาการชําระค่าปรับตามคําเปรียบเทียบ ตามมาตรา ๔๕ (๕) เสนอแนะหรือให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนเสนอแนะ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงาน ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ คณะอนุกรรมการ ตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๘ (๓) คณะกรรมการเปรียบเทียบ กรมการปกครอง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ทําการปกครองจังหวัด และกองบัญชาการตํารวจนครบาล (๖) เสนอแนะคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครองหรือช่วยเหลือลูกหนี้ ในด้านอื่น (๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกําหนดหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย ข้อบังคับและประกาศของคณะกรรมการนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
(๓) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่กระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
(๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะกระทําผิดวินัย หรือเคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหน่วยงานของเอกชนเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๖) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ให้สินเชื่อ หรือเป็นผู้ให้สินเชื่อ หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาตรา ๑๘ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่าเก้าสิบวัน และให้ผู้ที่ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นน้ัน อยู่ในตําแหน่งเท่ากับ วาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว มาตรา ๒๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน กรรมการท้ังหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทําหน้าที่แทนตามลําดับ ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใด อย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นํามาตรา ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๒ ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการอย่างน้อยคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการเกี่ยวกับการกํากับดูแลการทวงถามหนี้ ของผู้ให้สินเชื่อซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้แทน กระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมธนาคารไทยเป็นอนุกรรมการ โดยมี ข้าราชการของสํานักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และเป็นผู้ช่วยเลขานุการ จํานวนสองคน มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ลูกหนี้หรือบุคคลอ่ืนได้รับการปฏิบัติจากผู้ทวงถามหนี้ที่เป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ เพื่อวินิจฉัยสั่งการได้ การร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนด มาตรา ๒๔ ในการดําเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการ คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๘ (๓) มีอํานาจสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด มาให้ข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรมการปกครองรับผิดชอบในงานธุรการของ คณะกรรมการและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย ให้กรมการปกครองมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗
(๒) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้หรือกํากับดูแลการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
(๓) ประสานกับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลหรือตรวจสอบผู้ทวงถามหนี้ หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้
(๔) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และอบรมวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สํานักงานเศรษฐกิจการคลังรับผิดชอบ ในงานธุรการของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๒ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะอนุกรรมการดังกล่าว ได้มอบหมาย ให้สํานักงานเศรษฐกิจการคลังมีอํานาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้เพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการทวงถามหนี้ของผู้ให้สินเชื่อซึ่งเป็น นิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้หรือกํากับดูแลการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ (๒) ประสานกับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลหรือตรวจสอบผู้ทวงถามหนี้ หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ (๓) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และอบรมวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม
(๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งได้มอบหมาย
มาตรา ๒๗ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจําจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกในพื้นที่ ผู้บังคับการ ตํารวจภูธรจังหวัด คลังจังหวัด ประธานสภาทนายความจังหวัด เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และผู้แทน องค์กรพัฒนาภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้ปลัดจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจําจังหวัด แต่งตั้งข้าราชการของที่ทําการปกครองจังหวัดสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจํากรุงเทพมหานครประกอบด้วย ผู้บัญชาการตํารวจนครบาลเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ ๑๑ ผู้แทนสภาทนายความ และผู้แทนองค์กรพัฒนา ภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลแต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตํารวจนครบาล เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้บัญชาการตํารวจนครบาลแต่งตั้งข้าราชการตํารวจของกองบัญชาการตํารวจนครบาลสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอํานาจหน้าที่ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามมาตรา ๓๗
(๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการ ตามมาตรา ๒๗ มอบหมาย
(๔) รายงานการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ทุกสามเดือน
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ และคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้นํามาตรา ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ที่ทําการปกครองจังหวัดและกองบัญชาการ ตํารวจนครบาล รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจําจังหวัดและคณะกรรมการ กํากับการทวงถามหนี้ประจํากรุงเทพมหานครตามลําดับ และให้มีอํานาจหน้าที่ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นสํานักงานทะเบียนรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (๒) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ ประจําจังหวัดหรือคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจํากรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี (๓) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้หรือกํากับดูแลการปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ (๔) ประสานกับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลหรือตรวจสอบผู้ทวงถามหนี้ หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ (๕) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และอบรมวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจําจังหวัด หรือคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจํากรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี มอบหมาย มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ ให้ที่ว่าการอําเภอ และสถานีตํารวจเป็นสถานที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ได้ด้วย รวมทั้งให้หัวหน้าหน่วยงาน ดังกล่าวมีอํานาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารเพื่อส่งเรื่องต่อไปยังที่ทําการปกครองจังหวัด หรือกองบัญชาการตํารวจนครบาล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกําหนด มาตรา ๓๑ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคําสั่งไม่รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ตามมาตรา ๕ ให้ผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์ คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด มาตรา ๓๒ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้ทวงถามหนี้ หรือกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือพนักงานของผู้ทวงถามหนี้ ในกรณีผู้ทวงถามหนี้ เป็นนิติบุคคล มาให้ถ้อยคํา แสดงข้อมูลหรือส่งสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของผู้ทวงถามหนี้และบุคคลดังกล่าวข้างต้น มาตรา ๓๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศกําหนด
หมวด ๓
บทกําหนดโทษ
ส่วนที่ ๑
โทษทางปกครอง
|
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่ปรากฏแก่คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ ว่าผู้ทวงถามหนี้ฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ วรรคสอง (๑) หรือ (๔) มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๑ (๖) หรือมาตรา ๑๓ (๑) ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอํานาจสั่งให้ระงับการกระทําที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติ ให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กําหนด หากผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ ตามมาตรา ๒๗ พิจารณามีคําสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๓๕ ในการพิจารณาออกคําสั่งลงโทษปรับทางปกครอง ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ คํานึงถึงความร้ายแรงแห่งพฤติกรรมที่กระทําผิด ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองไม่ยอมชําระค่าปรับทางปกครอง ให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับ การบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ ในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดําเนินการบังคับตามคําสั่ง หรือมีแต่ไม่สามารถดําเนินการบังคับทางปกครองได้ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอํานาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชําระค่าปรับ ในการนี้ ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคําสั่งให้ชําระค่าปรับนั้นชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษา และบังคับให้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินขายทอดตลาดเพื่อชําระค่าปรับได้ มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับโทษปรับทางปกครอง ถ้าการกระทํา ความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทําการหรือไม่กระทําการอันเป็น หน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าว ต้องรับโทษปรับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอํานาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (๑) เคยถูกลงโทษปรับทางปกครองและถูกลงโทษซ้ำอีกจากการกระทําความผิดอย่างเดียวกัน
(๒) กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติที่มีโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘ ผู้ทวงถามหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งให้ชําระค่าปรับทางปกครองตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง หรือผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนตามมาตรา ๓๗ ต่อคณะกรรมการได้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง คณะกรรมการต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๙ บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘ วรรคสอง (๒) หรือ (๓) มาตรา ๑๑ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) หรือมาตรา ๑๓ (๒) ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกนิ หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๔๐ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ (๒) (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๔๑ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๑ (๑) หรือมาตรา ๑๒ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๔๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ ไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๔๓ บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งตามมาตรา ๒๔ หรือขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ตามมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๔๔ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทําการหรือไม่กระทําการ อันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าว ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๕ บรรดาความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการ เปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งมีอํานาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กําหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มี จํานวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทําการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชําระค่าปรับ ตามคําเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกําหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีนั้นเป็นอันเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้คณะกรรมการเปรียบเทียบแจ้งให้คณะกรรมการ ทราบโดยเร็ว
มาตรา ๔๖ บุคคลใดประกอบธุรกิจทวงถามหนี้หรือกิจการอื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน ตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ต่อไป ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างการยื่นคําขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลนั้นประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้ จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่รับจดทะเบียนจากนายทะเบียน มาตรา ๔๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในวาระเริ่มแรกที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวง มหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการคนทหี่ นึ่ง ปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อํานวยการสํานักงาน เศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายกสภาทนายความ เป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้ง ข้าราชการของกรมการปกครองสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ เพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
|
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การทวงถามหนี้ในปัจจุบันมีการกระทํา ที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคําที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง การคุกคาม โดยขู่เข็ญ การใช้กําลังประทุษร้าย หรือการทําให้เสียชื่อเสียง รวมถึงการให้ข้อมูลเท็จและการสร้าง ความเดือดร้อนรําคาญให้แก่บุคคลอื่น ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทวงถามหนี้และการควบคุมการทวงถามหนี้ไว้เป็นการเฉพาะ สมควรมีกฎหมายในเรื่องดังกล่าว จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
============================================ |
รับ ทวงหนี้ ตามหนี้ เร่งรัดหนี้สิน โดยทีมงานเร่งรัดหนี้สินมืออาชีพ |
บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัลจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน นักสืบเอกชนและกฎหมายแบบครบวงจร มีการให้บริการด้าน การ เร่งรัดหนี้สิน การ รับทวงหนี้ การติด ตามหนี้ สินค้างชำระ การเจรจา ประนอมหนี้ การเจรจาต่อรองการ ชำระหนี้ ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ การ ปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น โดยรับติดตามหนี้สินทุกประเภท ทั้งหนี้สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง เช่น การติดตามหนี้เงินกู้ การติดตามหนี้การค้างชำระค่าสินค้า การติดตามคนค้ำประกันเงินกู้ ทั้งประเภทที่มีสัญญาหรือเอกสารหลักฐานอื่นที่สามารถฟ้องร้องกันได้ตาม กฎหมาย หนี้นอกระบบ และประเภทที่ไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย และมูลหนี้ที่ไม่สามรถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้ที่เกิดจากการพนัน ( รวมถึงกรณีที่เป็นหนี้ที่ขาดอายุ ความ เช่น เช็คขาดอายุความ ) หนี้สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เช่น คดีจราจร (รถชนกันได้รับความเสียหาย) คดียักยอก ฉ้อโกง ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และความผิดอื่นๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากผู้ต้องหาได้ รวมถึงการติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับด้วย โดยทีมงานนักสืบและพนักงานเร่งรัดหนี้สินที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการ เร่งรัดติดตามหนี้สิน (อ่านรายละเอียด)
============================================ |
กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทร 081-9151522, 090-0700080 email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่ (คลิกที่นี่)
|
|