หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

เมนู

 

รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

               บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัลจำกัด ให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ, รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง, รับจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม , รับจดทะเบียนลิขสิทธิ์ , รับจดทะเบียนสิทธิบัตร, รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์, รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, รับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เพื่อเป็นยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตามกฎหมาย เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตัวเราเองไม่ให้ถูกผู้อื่นละเมิด หรือแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ จากความคิดของเรา

               ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิในทางกฎหมายของเจ้าของสิทธิที่มีอยู่เหนือผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่งของมนุษย์ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี
               สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่ใช่สิทธิอย่างเดียวกัน เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง ได้เอาเพลงนั้นมาอัดแผ่นเสียงขาย เมื่อมีผู้ซื้อแผ่นเสียงนั้นไป ผู้ซื้อก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแผ่นเสียงนั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงในแผ่นเสียงนั้น จึงไม่สามารถนำเอาแผ่นเสียงนั้นไปอัดใหม่แล้วนำไปขายต่อได้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์


============================================



เครื่องหมายการค้า


               พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 ได้กำหนดคำนิยามไว้ดังนี้
               เครื่องหมาย หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คํา ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
               1.ภาพถ่าย หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นจากกระบวนการถ่ายภาพจากสิ่งที่ปรากฏอยู่
               2.ภาพวาด หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นจากการวาดภาพเหมือนจากสิ่งที่ปรากฏอยู่ หรือเป็นการวาดขึ้นเองตามจินตนาการ หรือสร้างจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใด
               3.ภาพประดิษฐ์ หมายถึง ภาพที่สร้างขึ้น จัดทำขึ้น โดยให้มีลักษณะแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป
               4.ตรา หมายถึง เครื่องหมายที่มีลวดลายและทาสีเป็นรูปต่างๆ
               5.ชื่อ หมายถึง คำที่ใช้เรียกขานบุคคลธรรมดา นิตบุคคล หรือ องค์กรใดๆ
               6.คำ หมายถึง พยัญชนะและสระที่ประกอบเข้าด้วยกัน สามารถอ่านออกเสียงได้ โดยจะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม
               7.ข้อความ หมายถึง เนื้อความตอนหนึ่งๆ ใจความสั้นๆ
               8.ตัวหนังสือ หมายถึง ตัวอักษรในภาษาใดๆ
               9.ตัวเลข หมายถึง ตัวเลขในภาษาใดๆ
               10.ลายมือชื่อ หมายถึง ลายเส้นที่แสดงถึงชื่อของบุคคลธรรมดา
               11.กลุ่มของสี หมายถึง สีที่มีการรวมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 2 สี ขึ้นไป โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นสีอ่อนหรือสีแก่
               12.รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หมายถึง เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ ที่แสดงถึงด้านกว้าง ด้านยาว ด้านลึก
               13.เสียง หมายถึง สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู
               14.เครื่องหมายตามข้อ 1 - 13 อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกัน


               ประเภทของเครื่องหมายที่สามารถทำการจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย
               1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) หมายความว่า เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตก ต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
               2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) หมายความว่า เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตก ต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
               3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) หมายความว่า เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยว ข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
               4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือ วิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน
 

คุณลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้
               1.เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะ ที่ทําให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสําคัญดังต่อไปนี้ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
                    1.1 ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึง ลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
                    1.2 คําหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อ ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
                    1.3 คําที่ประดิษฐ์ขึ้น
                    1.4 ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น
                    1.5 กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ
                    1.6 ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว
                    1.7 ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้วหรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว
                    1.8 ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
                    1.9 ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่ หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
                    1.10 รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่าง หรือรูปทรงที่จําเป็นต่อการทํางานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทําให้สินค้านั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
                    1.11 เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียง โดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทํางานของสินค้านั้น
               เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะตามข้อ 1.1 ถึง 1.11 หากได้มีการจําหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
               2.เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ กฎหมายได้กำหนดห้ามไม่ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                    2.1 ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจําตําแหน่ง ตราประจํากระทรวง ทบวง กรม หรือตราประจําจังหวัด
                    2.2 ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศ หรือธงราชการ
                    2.3 พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อ หรือนามพระราชวงศ์
                    2.4 พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท
                    2.5 ชื่อ คํา ข้อความ หรือเครื่องหมายใด อันแสดงถึงพระมหากษตัริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือพระราชวงศ์
                    2.6 ธงชาติ หรือเครื่องหมายประจําชาติของรัฐต่างประเทศ ธงหรือเครื่องหมายขององค์การระหว่างประเทศ ตราประจําประมุขของรัฐต่างประเทศ เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของ รัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือชื่อและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น
                    2.7 เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา
                    2.8 เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรองประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายอื่นใดอันได้รับเป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐของประเทศไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศได้จัดให้มีขึ้น เว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียน จะได้รับเหรียญ ใบสําคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้น เป็นรางวัลสําหรับสินค้า นั้นและใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าน้ันแต่ทั้งน้ีต้องระบุปีปฏิทินที่ได้รับรางวัลด้วย
                    2.9 เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย
                    2.10 เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศ กําหนด หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทําให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือ แหล่งกําเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือไม่ก็ตาม
                    2.11 เครื่องหมายที่คล้ายกับข้อ 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6 หรือ 2.7
                    2.12 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                    2.13 เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
               3.ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว กล่าวคือ ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนในกรณีที่เห็นว่า เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น
                    3.1 เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจําพวกเดียวกันหรือต่างจําพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน หรือ
                    3.2 เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทําให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกําเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจําพวกเดียวกันหรือต่างจําพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน

                ระยะเวลาการคุ้มครองของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

                1. เครื่องหมายการค้าที่ได้ทำการจดทะเบียนแล้วจะมีอายุการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
                 2. การต่ออายุเครื่องหมายการค้า สามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยให้ยื่นคำขอต่ออายุภายใน 90 วัน ก่อนวันหมดอายุของเครื่องหมายการค้านั้นๆ โดยจะทำการต่ออายุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง


การได้มาซึ่งความคุ้มครองในเครื่องหมายการค้า

               ความคุ้มครองตามกฎหมายในเครื่องหมายการค้านั้นมิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้า จึงมีหน้าที่ในการนำเครื่องหมายการค้าที่ตนเองได้คิดขึ้นไปทำการจดทะเบียนตามกฎหมายเสียก่อน เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534   แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 แล้วเท่านั้น จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย


ประโยชน์ของเครื่องหมายการค้า

               1. ด้านผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ให้บริการ หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า มีประโยชน์ในการสร้างแบรนด์สินค้าหรือบริการ สำหรับเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจเป็นผู้ผลิต ผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการในด้านต่างๆ เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ในการที่จะทำให้ผู้บริโภค ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการสามารถจดจำหรือเรียกชื่อ ยี่ห้อ หรือแบรนด์สินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภค ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการ สามารถแยกแยะเพื่อเลือกซื้อสินค้า หรือบริการ ของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่เกิดการสับสนกับสินค้าหรือบริการ ของผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้ให้บริการที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น ๆ
               2. ด้านผู้บริโภค ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการ เครื่องหมายการค้า หรือแบรนด์สินค้านั้น มีประโยชน์ในการทำให้ผู้บริโภค ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการ สามารถแยกแยะสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าต่างๆ กันได้ ทำให้สามารถเลือกซื้อสินค้า หรือบริการ ที่มีคุณภาพตรงตามต้องการ รวมทั้งทราบถึงตัวเจ้าของสินค้า หรือบริการนั้นๆ ด้วย

               3. ด้านภาครัฐ เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ต่อภาครัฐ คือเมื่อมีการจดเครื่องหมายการค้าก็จะทำให้รัฐมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการต่ออายุเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้ยังทำให้รัฐสามารถดูแล ควบคุม การค้าขาย การประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นธรรม ตามกฎหมายด้วย

สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า

               1. เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ แต่จะทำการแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกค่าเสียหาย จากผู้ทำการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีผู้อื่นเอาสินค้าของตนเองไปลวงขายให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
               2. เครื่องหมายการค้าที่ได้ทำการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นย่อมมีสิทธิตามกฎหมายทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ สิทธิในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้านั้น สิทธิในการโอนเครื่องหมายการค้า ในกรณีที่ผู้อื่นละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้ทำการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้วนั้น มีสิทธิที่จะแจ้งความร้องทุก ฟ้องร้องดำเนินคดีและเรียกค่าเสียหายได้ และในกรณีที่มีผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ และสิทธิทั้งหลายในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วนี้ ยังสามารถตกทอดไปเป็นสิทธิของทายาทโดยชอบธรรมของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้ด้วย


การถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า

               กรณีที่มีผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของท่าน ไม่ว่าจะเป็น การปลอมเครื่องหมายการค้า, การเลียนเครื่องหมายการค้า, การนำเข้าหรือจำหน่ายสินค้าซึ่งมีการปลอมเครื่องหมายการค้า ตลอดจน การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือ ทําให้ปรากฏชื่อสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น ล้วนต้องรับโทษตามกฎหมายทั้งสิ้น โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ คือ


               ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
               มาตรา 272 ผู้ใดเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือ ทําให้ปรากฏชื่อสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้
               มาตรา 273 ผู้ใดปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายใน หรือภายนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
               มาตรา 274 ผู้ใดเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายใน หรือภายนอกราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชน หลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
               มาตรา 275 ผู้ใดนําเข้าในราชอาณาจักร จําหน่าย หรือเสนอจําหน่าย ซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 272(1) หรือสินค้าอันเป็นสินค้าที่มี เครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามความในมาตรา 273 หรือมาตรา 274 ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ

               ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
               มาตรา 108 บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
               มาตรา 109 บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็น เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของ บุคคลอื่นนั้น ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
               มาตรา 109/1 บุคคลใดนําหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วม ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรมาใช้สําหรับสินค้าของตนเองหรือ ของบุคคลอื่น เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมาย ร่วม หรือเชื่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
               มาตรา 110 บุคคลใด
                    (1) นําเข้ามาในราชอาณาจักร จําหน่าย เสนอจําหน่าย หรือมีไว้เพื่อจําหน่ายซึ่ง สินค้าที่มี เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียน เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายรวมของบุคคลอื่น ตามมาตรา 109 หรือ
                    (2) ให้บริการหรือเสนอให้บริการที่ใช้เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของ บุคคลอื่นตามมาตรา 109 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
               มาตรา 114 ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิด จากการสั่งการ การกระทํา หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับ ความผิดนั้น ๆ ด้วย
               หากต้องการอ่าน พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฉบับเต็ม (คลิกที่นี่)


แนวทางปฏิบัติกรณีถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า

               1. ทำการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                    - เจ้าหน้าที่ตำรวจ ( สถานีตำรวจท้องที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่นั้น หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ) หรือ
                    - เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ
               โดยมีหลักฐานประกอบการร้องทุกข์ดังนี้
                    - ทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งนายทะเบียนรับรองความถูกต้องที่เป็นต้นฉบับมาแสดง (จดทะเบียนแล้วตามกฎหมายไทย)
                    - หนังสือรับรองนิติบุคคลกรณีเจ้าของเครื่องหมายเป็นนิติบุคคล
                    - หนังสือมอบอำนาจให้ตัวแทนมีอำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ กรณีเจ้าของเครื่องหมายเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลต่างประเทศ โดยหนังสือมอบอำนาจต้องเป็นต้นฉบับ ถ้าจะใช้สำเนาต้องมีการรับรองความถูกต้องแท้จริงโดยวิธีการตามกฎหมายของประเทศนั้น โดยให้โนตารีพับลิครับรอง แล้วให้สถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่ง
                    - กรณีเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วในต่างประเทศ จะต้องนำทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นต้นฉบับมาแสดง
                    - เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศจะต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลถูกต้อง
                    - ตัวอย่างสินค้าของจริง และตัวอย่างสินค้าของปลอม
                    - หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพถ่าย สถานที่ผลิต หรือ จำหน่าย สถานที่เก็บสินค้า หลักฐานการโฆษณาสินค้า สำเนาใบเสร็จรับเงินจากการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น ( ท่านสามารถหาหลักฐานนี้ได้ด้วยตัวเอง หรือ ติดต่อใช้บริการ นักสืบเอกชน ของบริษัทสกาย อินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ในการสืบหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินคดี )
               2. การฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตัวเอง
               โดยมีหลักฐานการประกอบเช่นเดียวกับการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ต้องมีพยานหลักฐานที่ใช้ในการพิสูจน์ความผิดของผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าที่แน่นหนาชัดเจนมากกว่า ( ท่านสามารถหาหลักฐานนี้ได้ด้วยตัวเอง หรือ ติดต่อใช้บริการ นักสืบเอกชน ของบริษัทสกาย อินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ในการสืบหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินคดี ) เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคอยช่วยในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้า


ขั้นตอนการว่าจ้างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด

               1. สอบถามพูดคุยถึงรายละเอียดงาน และความต้องการของลูกค้า
               2. เมื่อลูกค้าตกลงว่าจ้าง ลูกค้าจ่ายค่าจ้างในการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ทางบริษัท สกาย อินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
               3. ทางบริษัทสกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการออกใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า
               4. แจ้งให้ลูกค้าทำการจัดเตรียมเอกสารประกอบการจดทะเบียนในส่วนของลูกค้า และจัดส่งให้ทางบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
               5. ทางบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แล้วส่งให้ลูกค้าลงลายมือชื่อ และส่งเอกสารกลับมาที่บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
               6. บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดอีกครั้ง แล้วทำการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อนายทะเบียน
               7. เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเรียบร้อยแล้ว จะส่งเอกสารการจดทะเบียนให้ลูกค้า เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการดำเนินการ ( ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 12 เดือน )
               หากท่านมีความประสงค์ให้ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้กับท่าน หรือต้องการใบเสนอราคา กรุณากรอกแบบฟอร์ม ขอใบเสนอราคา


============================================




ลิขสิทธิ์


               ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ (ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง) เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น โดยงานที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้น ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์งานดังกล่าวขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด

ประเภทของงานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

               1. วรรณกรรม หมายความ ว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (หมายความถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด) ด้วย
               2. นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
               3. ศิลปกรรม  หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ได้แก่
                    - งานจิตรกรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สี หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียวหรือหลายอย่าง
                    - งานประติมากรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้
                    - งานภาพพิมพ์ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์ และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย
                    - งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือการสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
                    - งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น
                    - งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
                    - งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานจิตรกรรม,  งานประติมากรรม, งานภาพพิมพ์, งานสถาปัตยกรรม, งานภาพถ่าย, งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
                    ทั้งนี้ ไม่ว่างานตามที่กล่าวมาข้างต้น จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
               4. ดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำ ร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว
               5. โสตทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี
               6. ภาพยนตร์ หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี
               7. สิ่งบันทึกเสียง หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้ วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
               8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หมายความว่า งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน
               9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
               แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นไม่หมายความรวมถึง ความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

ประเภทของงานสร้างสรรค์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

               1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
               2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
               3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
               4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
               5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามที่อ้างถึงดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น


การคุ้มครองลิขสิทธิ์

               เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
               ข้อ 1 ทำซ้ำหรือดัดแปลง
               ข้อ 2 เผยแพร่ต่อสาธารณชน
               ข้อ 3 ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
               ข้อ 4 ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
               ข้อ 5 อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม ข้อ 1, 2 หรือ 3 โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ (การพิจารณาว่าจะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง)

การโอนลิขสิทธิ์

               เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลอื่นได้ และจะโอนให้โดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้ การโอนลิขสิทธิ์ดังกล่าวซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาโอน ให้ถือว่าเป็นการโอนมีกำหนดระยะเวลาสิบปี

ระยะเวลาการคุ้มครองลิขสิทธิ์

               1. กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคล ลิขสิทธิ์มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
               ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
               ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
               2. กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
               3. กรณีผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
               4. ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
               5. ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
               6. ลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
               หมายเหตุ การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ออกทำการโฆษณาภายหลังจากที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์สิ้นสุดลงไม่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ในงานนั้น ๆ ขึ้นใหม่

การละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

               มาตรา 27 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
                    (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
                    (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
               มาตรา 28 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
                    (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

                    (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
                    (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
               มาตรา 29 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
                    (1) จัดทำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                    (2) แพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                    (3) จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า

               มาตรา 30 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
                    (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
                    (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
                    (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
               มาตรา 31 ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
                    (1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
                    (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
                    (3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
                    (4) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

               มาตรา 69 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
               ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา 70 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
               ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา 71 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา 60 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา 72 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 67 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 67 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               มาตรา 73 ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
               มาตรา 74 ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
               มาตรา 75 บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น
               มาตรา 76 ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้รับแล้วนั้น
               มาตรา 77 ความผิดตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
               หากต้องการอ่าน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับเต็ม คลิกที่นี่


แนวทางปฏิบัติกรณีถูกละเมิดลิขสิทธิ์

               1. ทำการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                    - เจ้าหน้าที่ตำรวจ ( สถานีตำรวจท้องที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่นั้น หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ) หรือ
                    - เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ
               โดยมีหลักฐานประกอบการร้องทุกข์ดังนี้
               ลิขสิทธิ์ในประเทศ
               - หลักฐานการสร้างสรรค์งาน หรือหลักฐานการได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนจะต้องนำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ หรือหนังสือรับรองสิทธิไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน หากไม่มีหนังสือรับรองลิขสิทธิ์หรือหนังสือรับรองสิทธิให้นำหลักฐานการเผยแพร่หรือประกาศโฆษณางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน โดยลิขสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องยังไม่หมดอายุการคุ้มครองตามกฎหมาย
               - ตัวอย่างงานส้างสรรค์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์และตัวอย่างงานส้างสรรค์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ กรณีเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนจะต้องนำภาพถ่ายหรือภาพจำลองที่แสดงถึงพฤติการณ์แห่งการละเมิดไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน
               - ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์มิได้มาแจ้งความร้องทุกข์ด้วยตัวเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจทุกช่วงไม่ขาดสายให้แจ้งความร้องทุกข์แทนพร้อมด้วยหลักฐานการมอบอำนาจ คือบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองนิติบุคคล
               - สำเนาบัตรประชาชนของผู้ร้องทุกข์ หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
               - หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพถ่าย สถานที่ผลิต หรือ จำหน่าย สถานที่เก็บสินค้า หลักฐานการโฆษณาสินค้า สำเนาใบเสร็จรับเงินจากการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น ( ท่านสามารถหาหลักฐานนี้ได้ด้วยตัวเอง หรือ ติดต่อใช้บริการ นักสืบเอกชน ของบริษัทสกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ในการสืบหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินคดี )
               ลิขสิทธิ์ต่างประเทศ
               - หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและเงื่อนไขการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของต่างประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของงานสร้างสรรค์นั้น เช่น ชื่อผู้สร้างสรรค์งาน  การเผยแพร่โฆษณางานสร้างสรรค์ การจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์นั้น ชื่อผู้แปลหรือจัดทำคำบรรยายเป็นภาษาไทย รวมทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องรับรองว่าได้สร้างสรรค์งานขึ้นเมื่อใด
               - หนังสือมอบอำนาจซึ่งบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ได้มอบอำนาจให้บุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศไทยเป็นตัวแทน ซึ่งจะต้องรับรองความถูกต้องโดยวิธีการตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ แล้วให้สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่ง (มีโนตารีพับลิค รับรอง)
               - หนังสือรับรองนิติบุคคลของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ  หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล เช่น คำให้การของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งให้การต่อหน้าโนตารีพลับลิค
               - หนังสือรับรองนิติบุคคลของผู้รับมอบอำนาจในประเทศไทย (กรณีการตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในประเทศไทย)
               - หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลร้องทุกข์แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่มีการมอบอำนาจช่วง) พร้อมด้วยหลักฐานการมอบอำนาจ คือ หนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
               - เอกสารที่แสดงว่าประเทศต้นกำเนิดของงานสร้างสรรค์ซึ่งถูกละเมิดลิขสิทธิ์นั้น เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมพร้อมคำแปลภาษาไทย (อนุสัญญากรุงเบอร์น ค.ศ.1886 กรรมสารกรุงเบอร์นสิน ค.ศ.1908 พิธีสารเพิ่มเติมกรุงเบอร์น ค.ศ.1914 กรรมสารกรุงปารีส ค.ศ.1971)
               - กฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของงานสร้างสรรค์นั้น พร้อมคำแปลภาษาไทย
               - เอกสารซึ่งมาจากต่างประเทศจะต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ ถ้าจะใช้สำเนาจะต้องมีการรับรองความแท้จริงถูกต้องโดยวิธีการตามกฎหมายของประเทศนั้น(เช่น ให้โนตารีพับลิครับรอง)แล้วให้สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่ง
               - ตัวอย่างงานส้างสรรค์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์และตัวอย่างงานส้างสรรค์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ กรณีเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนจะต้องนำภาพถ่ายหรือภาพจำลองที่แสดงถึงพฤติการณ์แห่งการละเมิดไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน
               - เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยพร้อมรับรองถูกต้อง
               - หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพถ่าย สถานที่ผลิต หรือ จำหน่าย สถานที่เก็บสินค้า หลักฐานการโฆษณาสินค้า สำเนาใบเสร็จรับเงินจากการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น ( ท่านสามารถหาหลักฐานนี้ได้ด้วยตัวเอง หรือ ติดต่อใช้บริการ นักสืบเอกชน ของบริษัทสกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ในการสืบหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินคดี )

               2. การฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตัวเอง
               โดยมีหลักฐานการประกอบเช่นเดียวกับการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ต้องมีพยานหลักฐานที่ใช้ในการพิสูจน์ความผิดของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ที่แน่นหนาชัดเจนมากกว่า เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคอยช่วยในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ( ท่านสามารถหาหลักฐานนี้ได้ด้วยตัวเอง หรือ ติดต่อใช้บริการ นักสืบเอกชน ของบริษัทสกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ในการสืบหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินคดี )


ขั้นตอนการจดแจ้งลิขสิทธิ์ของบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด

               1. สอบถามพูดคุยถึงรายละเอียดงาน และความต้องการของลูกค้า
               2. เมื่อลูกค้าตกลงว่าจ้าง ลูกค้าจ่ายค่าจ้างในการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ทางบริษัทสกาย อินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
               3. ทางบริษัทสกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการออกใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า
แจ้งให้ลูกค้าทำการจัดเตรียมเอกสารประกอบการจดแจ้งลิขสิทธิ์ในส่วนของลูกค้า และจัดส่งให้ทางบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
               4. ทางบริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นจดแจ้งลิขสิทธิ์ แล้วส่งให้ลูกค้าลงลายมือชื่อ และส่งเอกสารกลับมาที่บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
               5. บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดอีกครั้ง แล้วทำการยื่นแจ้งลิขสิทธิ์ต่อนายทะเบียน
               6. เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการจดแจ้งลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จะส่งเอกสารการจดแจ้งลิขสิทธิ์ให้ลูกค้า เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการดำเนินการ
               อนึ่ง การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ และหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ แต่อย่างใด ซึ่งหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องมีหน้าที่ในการพิสูจน์ซึ่งความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง
               หากท่านมีความประสงค์ให้ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด ทำการจดแจ้งลิขสิทธิ์ให้กับท่าน หรือต้องการใบเสนอราคา กรุณากรอกแบบฟอร์ม ขอใบเสนอราคา


============================================




สิทธิบัตร

              สิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่อง ใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม       

ประเภทของสิทธิบัตรตามกฎหมาย

             สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ การคิดค้น หรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ (หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือ การปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย) หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี เช่น การผลิตรถยนต์ , รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
 

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

             1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว

              2. เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น และ

              3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ได้แก่การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม

การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรได้

              1.จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติสัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช

              2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

              3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

              4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์

              5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน
 

              สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบ สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ เช่น การออกแบบเก้าอี้ที่มีรูปร่างแปลกๆ เป็นต้น
 

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามกฎหมายได้
-ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม
 

การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้

              1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

              2. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

              อนุสิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ การคิดค้น หรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ (หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือ การปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย) หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี เหมือนกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่สิ่งประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น หรือมีกลไกที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก    

การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

           1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว

           2. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ได้แก่การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม

อัตราค่าบริการและขอบเขตการให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ

           1.รับบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

             -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           2.รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           3.รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           4.รับจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           5.รับจดทะเบียนลิขสิทธิ์

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบทะเบียนลิขสิทธิ์ ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           6.รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบสิทธิบัตร ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           7.รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบสิทธิบัตร ราคา 5,000 บาท แล้ว)

           8.รับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร

              -คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบสิทธิบัตร ราคา 5,000 บาท แล้ว)

 

               กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทร 081-9151522, 090-0700080 email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่
  (คลิกที่นี่)

 

บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด 
725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

โทร. 081-9151522, 090-0700080            E-mail : skyinterlegal@gmail.com           Facebook : Skyinterlegal
Copyright 2011-2022 Sky International Legal Co.,Ltd. All rights reserved.
 
  
view