บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัลจำกัด ให้บริการ รับจดทะเบียนนิติบุคคล รับจดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน รับจดทะเบียนร้านค้า รับจดทะเบียนคณะบุคคล รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล รับจดทะเบียนเพิ่มทุน รับจดทะเบียนเลิกบริษัท รับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน รับจดเลิกกิจการ ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ขึ้นทะเบียนนายจ้าง ลูกจ้าง
การดำเนินการประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยมีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการเพียงลำพัง หรืออาจจะดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะหรือประเภทของธุรกิจการค้า เงินทุน สถานที่ประกอบการค้า จำนวนคนงาน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต คู่แข่งทางการค้า เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุดจากการประกอบธุรกิจนั้นๆ
ประเภทขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย |
1.มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล (มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย)
1.1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียน
1.2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.3.บริษัทจำกัด
1.4.บริษัทมหาชนจำกัด
1.5.องค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่จัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
2.ไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล (อาจต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย)
2.1.กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว
2.2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 |
ข้อ 1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ 1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)
1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด โดยบุคคลตาม 1.1-1.5 ต้องประกอบกิจการค้าซึ่งเป็นพาณิชยกิจตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดตาม ข้อ 2. ข้อ 2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
(1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
(2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
(4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาท
ขึ้นไป
(5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
(6) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(7) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(8) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(9) บริการอินเทอร์เน็ต
(10) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(11) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(12) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
(13) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(14) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(15) การให้บริการตู้เพลง
(16) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ตาม 1.4-1.5 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
(1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
(4) บริการอินเทอร์เน็ต
(5) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(6) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(7) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
(8) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(9) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(10) การให้บริการตู้เพลง
(11) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ากิจการค้าที่ดำเนินการนั้นต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ หากเป็นกิจการค้าที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าก่อนยื่นจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อ 3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่
3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย
3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
|